ความรู้ ทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ประชากร คือ บุคลากรที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ก่อนเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 จำนวน 657 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณสัดส่วนของแดเนียล เท่ากับ 250 คน มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อ มูลคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ที่ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยที่ระดับสูง 77.20% ( = 2.73 , S.D. = 0.517 ) ทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริม สุขภาพของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยที่ระดับสูง 65.20% ( = 2.64 , S.D. = 0.486 ) และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยที่ระดับกลาง 59.60% ( = 2.40 , S.D. = 0.491 ) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ( r = 0.216 , P-value < 0.001 , r = 0.211 , P-value < 0.001 ตามลำดับ ) ข้อเสนอแนะ สถาบันฯ ควรจัดให้มีการส่งเสริมความรู้ทางด้านสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มเติม เพราะเนื่องจากบุคลากรยังมีความเชื่อและเข้าใจทางด้านสุขภาพที่ผิดอยู่บ้าง อีกทั้งควรส่งเสริมให้บุคลากรในสถาบันมีการดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง โดยจัดพื้นที่สำหรับออกกำลังกายมีเครื่องมือออกกำลังกายชนิดต่าง ๆ ให้บุคลากรได้ตระหนักถึงการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้นและควรมีการสนับสนุนทางด้านการส่งต่อทัศนคติที่ดีในการดูแลตนเองให้กับผู้อื่น เพราะหากผู้ที่ได้รับทัศนคติที่ดีจะก่อให้เกิดพฤติกรรมในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีต่อบุคคลอื่น
References
ฉัตรณรงค์ พุฒทอง และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองด้วยวิถีการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอ ทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 156-165.
ธาริน สุขอนันต์ และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 66-75
ปราณี อ่อนศรี. (2559). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน พยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(3), 158-167.
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. (2562). ข้อมูลสถิติผู้ใช้บริการห้องพยาบาล สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
สมบัติ กาวิลเครือ. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 161-173.
อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 55-64.
อานนท์ สีดาเพ็ง และนิคม มูลเมือง. (2556). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารศิลป์ศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 1(1), 59-105.
Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Bloom, B. S. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. 1(2) Losangeles: University of California at Los Angeles.
Daniel, W. W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons.
Dewey, J. (1976). Moral Principle in Education. Boston: Houghton Mifflin Co.
Pender, N. J. (1996). Health Promotion in Nursing Practice. New York: Appleton and Lange.
Rosenberg, R. J. & Hovland,C. I. (1960). Attitude Organization and Change : And Analysis of Consistency Among Attitude Components. Wesport: Greenwood Press.
Wiersma, W. & G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9 th ed). Massachusetts: Pearson.
World Health Organization. (1986). Ottawa Charter for Health Promotion. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.