ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลทุ่งมนและตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การรับรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มประชากร คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลทุ่งมนและตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 181 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 116 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 การรับรู้ด้านสุขภาพ ส่วนที่ 3 พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.926 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (=2.92 , S.D.=0.27) พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.61 , S.D. = 0.51) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม. ในเขตตำบลทุ่งมนและ ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r = 0.288 , P-value = 0.002 ) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย บุคลากรสาธารณสุขควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ อสม. ได้ดำเนินกิจกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
References
ก ร ะ ท ร ว ง ส า ธ า ร ณ สุ ข . ( 2563). Health Data Center. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php.
กฤตเมธ อัตภูมิ, วินัย รัตนสุวรรณ, ดุสิต สุจิรารัตน์, และมธุรส ทิพยมงคลกุล. (2560). ประสิทธิผลการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ; 11(2): 140-53.
ประภาศิศรีคง. (2557). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนและการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระหว่างตำบลที่มีอุบัติการณ์ของโรคต่ำและสูง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น
ประสิทธิ์ นิมสุวรรณ์, ขวัญเรียม นิมสุวรรณ์, ธวัชชัย ศรีพรงาม, อัมพล ชูสนุก. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของชาวบ้านในชุมชนพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม; 10(1): 146-66.
ผ่องศรี พูลทรัพย์, รัชนี ครองระวะ, ภิรมย์ ลี้สุวรรณ, และบรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์. (2558). การพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามสภาพจริงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข; 25(2): 206-18.
สำนักระบาดวิทยา. (2558). รายงานการพยากรณ์โรค “ไข้เลือดออก”. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rded). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.
Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Cronbach, Lee J. (1951). Essentials of Psychological Testing. (3rded). New York: Harper.
Hammon WM., Rudnik A., Sather GE. (1960). Viruses associated with epidemic hemorrhagic fever of the Philippines and Thailand. Science. 131(11), 3.
Rosenstock, Irain M. (1 9 7 4 ) . The Health Belife Model and Prevention Behavior. Health Education Monographs.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.