การประยุกต์ใช้ทฤษฎีรวมการรับและใช้เทคโนโลยีในการศึกษาความตั้งใจและการใช้โมบายแอพสำหรับการสั่งอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธาวินี จันทร์คง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ทฤษฎีรวมการรับและใช้เทคโนโลยี, ความคาดหมายด้านประสิทธิภาพ, อิทธิพลทางสังคม, ความคาดหมายในความพยายาม, การใช้โมบายแอพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ทฤษฎีรวมการรับและใช้เทคโนโลยีในการศึก ษาความตั้งใจใช้ และการใช้โมบายแอพสำหรับการสั่งอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหาน ครที่เป็นผลจากความคาดหมายด้านประสิทธิภาพ ความคาดหมายในความพยายาม ด้านอิ- ทธิพลทางสังคม และเงื่อนไขอำนวยความสะดวก โดยวิธีการสำรวจเชิงปริมาณโดยใช้แบบ สอบถามปลายปิดเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล  จากผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่เคยใช้โมบายแอพเพื่อสั่งอาหารจำนวน 400 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้- อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญ.05

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุ 31-40 ปี  มีการศึก ษาระดับปริญญาตรี  เป็นพนักงานบริษัทเอกชนและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคาดหมายด้านประสิทธิภาพ ความคาดหมายในความพยายาม และอิทธิพลทางสังคม    ส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจใช้โมบายแอพสำหรับการสั่งอาหารและยังพบว่าความตั้งใจใช้ส่งผลทางบวกต่อการใช้งานโมบายแอพสำหรับกา- รสั่งอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). ธุรกิจภัตคารร้านอาหาร เดือนมีนาคม 2560. สืบค้นจาก http://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2560/T26/T26_201703.pdf

ฐานเศรษฐกิจ. (2560). จับตาปี 60 สั่งอาหารออนไลน์หนุนตลาด Delivery โตร้อยละ 11-15. สืบค้นจาก www.thansettakij.com/content/118867

นัตติยา ภู่สละ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2560). ความคาดหมายในการส่งมอบที่รวดเร็ว ประสบการณ์การใช้บริการ ความคาดหมายในประสิทธิภาพ ความกังวลต่อเทคโนโลยีใน การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ 2560 ครั้งที่ 4 การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการศึกษาและงานวิจัย 4.0. นนทบุรี: โรงแรมริชมอนด์ สไตลิส คอนเวนชั่น.

พรชนก พลาบูลย์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2560). การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจของประชาชนในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ของรัฐบาลไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ 2560 ครั้งที่ 4 การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการศึกษาและงานวิจัย 4.0. นนทบุรี: โรงแรมริชมอนด์ สไตลิส คอนเวนชั่น.

สุกฤตา ศิริรัตน์รุ่งเรือง และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). เงื่อนไขการอำนวยความสะดวก อิทธิพลจากสังคมการรับรู้ถึงประโยชน์ ความไว้วางใจขั้นต้น และทัศนคติต่อการใช้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้งานแอพพลิเคชัน Grab Taxi ของผู้ใช้งานมือถือสมาร์ทโฟนในกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2016 เศรษฐกิจดิจิทัลในบริบทของวิสาหกิจเริ่มต้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสยาม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). แนวโน้มคนไทยใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น. เข้าถึง: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/ActivityNSO/A24-05-60.aspx. สืบค้น 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560.

Cronbach, L. J., & Meehl, P. E. (1955). Construct Validity in Psychological Tests. Psychological Bulletin, 52, 281-302.

Kim, G., Shin, B., & Lee, H. G. (2009). Understanding dynamics between initial trust and usage intentions of mobile banking. Information Systems Journal, 19,283–311.

Sim, J. J., Tan, G.W., Wong, J.C., Ooi, K. B., & Hew, T.S. (2014). Understanding and predicting the motivators of mobile music acceptance-A multi-stage MRA- artificial neural network approach. Telematics and informatics, 31,569-584.

Zhou, T. (2013). An empirical examination of continuance intention of mobile payment services. Decision Support Systems, 54, 1085–1091.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly, 27(3), 425-478.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2023