คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มพฤฒพลัง จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุพฤฒพลัง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มพฤฒพลัง ประชากรคือ ผู้สูงอายุที่มีรายชื่อตามทะเบียนบ้านเขตจังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. 2563 จำนวนทั้งสิ้น 145,522 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 420 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิต แบบสัมภาษณ์ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.867 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุติดสังคมหรือกลุ่มพฤฒพลัง เขตจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ (P-value < 0.001), พฤติกรรมการจัดการด้านอารมณ์ (P-value < 0.001) , รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน (P-value = 0.003) , พฤติกรรมการบริโภคอาหาร (P-value = 0.010) ตามลำดับ สามารถทำนายได้ ร้อยละ 16.1 (R2 = 0.161)
References
เขมิกา สมบัติโยธา, วิทยา อยู่สุข และ นิรุวรรณ เทิรนโบล์. (2560). พฤติกรรมสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. J Sci Technol MSU, 38(1), 47-59.
ดรุณี ชุณหะวัต. (2549). การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังแบบมีส่วนร่วม : มิตรภาพบำบัด. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.
พรปวีณ์ ทรัพย์แก้ว. (2559). การศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุในตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2555. สนับสนุนโดยกองทุนผู้สูงอายุ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ที คิว พี จำกัด.
วิไลพร วงค์คีนี, โรจนี จินตนาวัฒน์ และ กนกพร สุคำวัง. (2556). ปัจจัยทำนายพฤฒพลังของประชากรเขตเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 40(4), 91-99.
สุปราณี จินาสวัสดิ์. (2559). พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยพะเยา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. (2563). รายงานประจำปีของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม 2562 [เอกสารอัดสำเนา]. นครปฐม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. (2560). ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุหลังวัยเกษียณอายุการทำงานในจังหวัดแพร่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 45, 30-42.
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.
Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.
Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons.
Green, L. W. and Kreuter, M.W. (1991). Health promotion planning: and enviromentalapproach. Toronto: Mayfied Publishing.
Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8), 259-267.
World Health Organization. (2002). Active ageing: A policy framework (WHO/NMH/NPH/02.8). http://www.unati.uerj.br/doc_gov/destaque/Madri2.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.