ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • รสกร วันประยูร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รมณีย์ พรมมืด มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธนัช กนกเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การบริโภค, อาหารเช้า, นักเรียน

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย   และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่างซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 265 คน  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1)  ข้อมูลส่วนบุคคล  2)  ความรู้เกี่ย วกับการบริโภคอาหารเช้า เจตคติที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารเช้า 3) การเข้าถึงแหล่งขายอาหารเช้า 4)การได้รับข้อมูลข่าวสารการได้รับแรงสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัวครู และเพื่อน  5) พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Eta และ Pear son’s correlation กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05     

          ผลการศึกษา  พบว่า  พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 97.36   และมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของกลุ่มตัวอย่างมี 6 ปัจจัย ได้แก่  สถานภาพสมรสของผู้ปกครอง (P-value=0.004) ควา มรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้า (P-value<0.001) เจตคติที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้า (P-value<0.001) การเข้าถึงแหล่งขายอาหารเช้า (P-value<0.001**) มีการได้รับข้อมูลข่าวสาร (P-value<0.001) การได้รับแรงสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว ครู และเพื่อน (P value=0.005)  มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้า   อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P-value<0.05)

References

กมลวรรณ สุวรรณ, สุชาดา เจะดอเลาะ, ชนิกานต์ สมจารี, พัชรินทร์ คมขำ และ ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. (2021). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 17(1), 40-51.

จิราภรณ์ เรืองยิ่ง และ สุจิตรา จรจิตร. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา: การสังเคราะห์องค์ความรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 8(1), 245-264.

จักรพันธ์ รู้สมัย, เมธินี แก้วแดง, ฐิติพร เกสรพรม, พิณรัตน์ นุชโพธิ์ และ ศุภศิว์ สุวรรณเกสร. (2560). การศึกษาพฤติกรรมบริโภคอาหารเช้าและความรู้ความเข้าใจตามหลักโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านดอนสำโรง จ.สุโขทัย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 (น. 910-921). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

จารุวรรณ ไผ่ตระกูล, มยุรฉัตร กันยะมี, ฑิฆัมพร ภุมรินทร์, มณีนาถ ศรีภา และ สุธินี ศิริรัตน์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 8(1), 18-32.

ชลิดา เลื่อมใสสุข และ วัชรี พืชผล. (2561). ความรู้ทางโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 10(3), 73-83.

ณัฏฐินี ชัวชมเกตุ, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม และ ทัศนี ประสบกิตติคุณ. (2557). ปัจจัยด้านผู้ปกครองที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 7(3), 15-25.

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในเขตเทศบาลเมืองและอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11(1), 109-112.

ธนินทร์ สังขดวง และ จิระนาถ รุ่งช่วง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าท้องถิ่นที่สืบทอดจากวัฒธรรมเปอรานากันของนักท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(1), 81-92.

นภาพร เหมาะเหม็ง และ ชนัดดา เกิดแพร. (2560). การศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา. 7(1), 67-74.

นวารินทร์ พันธุ์ชัยภูมี และ พิษณุ อุตตมะเวทิน. (2564). พฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแวงน้อยศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 14(1), 49-56.

บุญฤทธิ์ ประสิทธิ์นราพันธุ์, วิมล อ่อนเส็ง, ปฐพร แสงเขียว, ดุจเดือน เขียวเหลือง, อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์, อัญชลี เข็มเพ็ชร และ สายฝน วรรณขาว. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 9(2), 41-53.

ปิยะกุล สิทธิรัตน์ ณ นครพนม และ อนุชาติ มาธนะสารวุฒิ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารเช้า และความเหนื่อยล้าในนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 12(2), 1-9.

พิภพ ทองจันทร์. (2558). พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของนิสิตปริญญาตรี สาขาสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิมพ์ชนก เขียวคราม. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (รายงานการวิจัย). นครปฐม: ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ. 3(1), 109-126.

มัณทนาวดี เมธาพัฒนะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 25(3), 20-29.

ริษา ดีจุฑามณี, อัจฉรา มูลรัตนา และ สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์. (2565). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. https://shorturl.asia/drbK8.

วิตา ศรีสวัสดิ์ และ สุวลี โล่วิรกรณ์. (2562). การรับรู้และการบริโภคอาหารเช้าของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12(4), 88-96.

สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารราชพฤก. 15(1), 33-41.

สุบิน สุนันต๊ะ. (2551). พฤติกรรมบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนประถมศึกษา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุทธิพงษ์ วงวิริยะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุรีย์วรรณ สีลาดเลา, ธรรมศักดิ์ สายแก้ว, วรรณวิมล เมฆวิมล กิ่งแก้ว, กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์ และ ธัญญะ พรหมศร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 17(1), 40-51.

อณติมา หมีสมุทร์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนราชินีบน. (วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อรสุดา แซ่จ่าว และ อังคณา เหมือนจิตต์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Best, John W. (1977). Research in Education. (3rd ed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Bloom, Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Wayne W. Daniel and Chad L. Cross (1995). Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences. (6th ed). New Jersey: John Wiley & Sons, Inc. (p. 177-178).

Jess A. Gwin and Heather J. Leidy. (2018). Breakfast Consumption Augments Appetite, Eating Behavior, and Exploratory Markers of Sleep Quality Compared with Skipping Breakfast in Healthy Young Adults. National Library of Medicine. 2(11).

Lewis G Halsey, Jörg W Huber, Tzetze Low, Chinwe Ibeawuchi, Polly Woodruff and Sue Reeves. (2011). Does consuming breakfast influence activity levels? An experiment into the effect of breakfast consumption on eating habits and energy expenditure. National Library of Medicine. 15(2).

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2023