ประสิทธิผลการรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดในด้านลดความเจ็บปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลถลาง
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม, สหวิชาชีพบทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ( Pain Visual Analog Scale ) และระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ( Modified WOMAC score ) เปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดของคลินิกกระดูกและสหวิชาชีพ โรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต ประชากรคือผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลถลาง จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ คุณลักษณะส่วนบุคคล , ระดับความปวดของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม , คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม และระดับความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมจากภาพถ่ายรังสี แบบสัมภาษณ์ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ใช้อธิบายข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของสูงอายุ , วิเคราะห์ข้อมูลเชิงอุปมาน ด้วยสถิติทดสอบ Paired t - test ผลวิจัยการศึกษาประสิทธิผลการรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดในด้านลดความเจ็บปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลถลาง พบว่าสามารถลดระดับความเจ็บปวด (Pain Visual Analog Scale) ค่าเฉลี่ยระดับความปวดก่อนและหลังคือ 8.03 และ 3.37 ( P-value < 0.01 ) และสามารถเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ( modified WOMAC score ) ค่าเฉลี่ยคะแนนรวมคุณภาพชีวิตก่อนและหลังคือ 131.40 และ 63.10 (P-value < 0.01) หลังเข้าร่วมโปรแกรมการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดของคลินิกกระดูก และสหวิชาชีพโรงพยาบาลถลาง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ
References
ชวิศ เมธาบุตร. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 16(3), 969-985.
ธนชัย รินไธสง. (2564). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลบรบือ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 5(10), 64-75.
ปภัสรา หาญมนตรี และคณะ. (2557). ความเที่ยงในการทดสอบซํ้าและความสัมพันธ์ของแบบประเมิน Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis ฉบับภาษาไทย กับคะแนนปวดในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 26(1), 84-92.
ภูริชญา วีระศิริรัตน์ และคณะ. (2557). ผลของการจัดการทางกายภาพำบัดในพระสงฆ์ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม (รายงานวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุทธนา นุ่นละออง และคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมการบริหารข้อเข่าด้วยท่าฤๅษีดัดตนร่วมกับการประคบร้อน เพื่อบรรเทาความปวดในผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 46(2), 71-78.
ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. แนวเวชปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ.2554. https://www.rcost.or.th/th/.
Arroll B, Goodyear-Smith F. (2004). Corticosteroid injections for osteoarthritis of the knee: meta-analysis. British Medical Journal. 328(7444), 869.
Deyle GD, Allen CS, Allison SC, Gill NW, Hando BR, Petersen EJ, et al. (2020). Physical therapy versus glucocorticoid injection for osteoarthritis of the knee. The New England Journal of Medicine. 382(15), 1420–1429.
Kuptniratsaikul V, Rattanachaiyanont M. (2007). Validation of a modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) osteoarthritis index for knee osteoarthritis. Clinical Rheumatology. 26(10), 1641–1645.
Long H, Liu Q, Yin H, Wang K, Diao N, Zhang Y, et al. (2022). Prevalence trends of site-specific osteoarthritis from 1990 to 2019: findings from the global burden of disease study 2019. Arthritis Rheumatology. 74(7), 1172–1183.
McAlindon T. E., LaValley M. P., Harvey W. F., Price L. L., Driban J. B., Zhang M., et al. (2017). Effect of intra-articular triamcinolone vs saline on knee cartilage volume and pain in patients with knee osteoarthritis: a randomized clinical trial. The Journal of the American Medical Association. 317(19), 1967–75.
Robert H. Brophy and Yale A. Fillingham. (2022). AAOS Clinical Practice Guideline Summary: Management of Osteoarthritis of the Knee (Non arthroplasty). (3rd ed). Journal of the American Academy of Orthopaedic Surgeons. 30(9), e721-e729.
Utamawatin et al. (2023). The efficacy of intra-articular triamcinolone acetonide 10 mg vs. 40 mg in patients with knee osteoarthritis: a non-inferiority, randomized, controlled, double-blind, multicenter study. BMC Musculoskeletal Disorders. 24(92), 1-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.