สถานการณ์และผลการตรวจหาเชื้อไวรัสซิกาด้วยเทคนิค Real-time Reverse transcriptase polymerase chain reaction ในเขตสุขภาพที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2565
คำสำคัญ:
ไวรัสซิกา, โรคติดเชื้อไวรัสซิกา, เทคนิค Real-time Reverse transcriptase polymerase chain reaction, สถานการณ์บทคัดย่อ
การติดเชื้อไวรัสซิกาในเขตสุขภาพที่ 2 ที่ผ่านมายังไม่พบผู้เสียชีวิต แต่พบเด็กที่มีศีรษะเล็กแต่กำเนิด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก ได้ตรวจหาเชื้อไวรัสซิกาด้วยเทคนิค Real-time Reverse transcriptase polymerase chain reaction ในตัวอย่างพลาสมาและ/หรือปัสสาวะ เพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสซิกา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ และผลการตรวจหาเชื้อไวรัสซิกาด้วยเทคนิค Real-time RT-PCR ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 ช่วงปี พ.ศ. 2561-2565 จากจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 1,413 ตัวอย่าง พบผลบวก 132 ตัวอย่าง (ร้อยละ 8.98) จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 87 ตัวอย่าง (ร้อยละ 65.91) และเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกาที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป 105 ตัวอย่าง (ร้อยละ 79.55) พื้นที่จังหวัดที่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ 67 ตัวอย่าง (ร้อยละ 50.76) รองลงมาคือจังหวัดเพชรบูรณ์ 30 ตัวอย่าง (ร้อยละ 22.73) จังหวัดสุโขทัย 19 ตัวอย่าง (ร้อยละ 14.39) ตามลำดับ โดยผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการนี้ จะช่วยในการสอบสวน เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคในยุงพาหะในพื้นที่เกิดโรคต่อไป
References
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. (2564). รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2564. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1212820211229113331.pdf.
ธนกร สนั่นเอื้อ. (2563). ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา จังหวัดหนองคาย ช่วงปี พ.ศ.2558-2562. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 27(3), 75-86.
พจมาน ศิริอารยาภรณ์, โรม บัวทอง และ อาทิชา วงศ์คำมา. (2559). แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง และสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในกลุ่มเสี่ยง. ใน วรยา เหลืองอ่อน และ นพรัตน์ มงคลางกูร (บ.ก.), คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2559 (น. 26-32). นนทบุรี: สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
วรยา เหลืองอ่อน, สุมนมาลย์ อุทยมกุล, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, นพรัตน์ มงคลางกูร, ขวัญเนตร มีเงิน และ ปาจารีย์ อักษรนิตย์. (2564). การศึกษาการติดเชื้อไวรัสซิกาในกลุ่มนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ของไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 31 และพาราลิมปิกครั้งที่ 15 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30(1), 62-70.
วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล. (2560). บทความพิเศษ โรคติดเชื้อไวรัสซิกาและสถานการณ์โรคในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 7(2), 244-250.
สุมาลี ชะนะมา และ เกรียงศักดิ์ ฤชุศาศวัต. (2559). แนวทางการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสซิกาทางห้องปฏิบัติการ. ใน วรยา เหลืองอ่อน และ นพรัตน์ มงคลางกูร (บ.ก.), คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2559 (น. 43-50). นนทบุรี: สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สุมาลี ชะนะมา, ภัทร วงษ์เจริญ, ศิริรัตน์ แนมขุนทด, ลัดดาวัลย์ มีแผนดี, อริสรา โปษณเจริญ, พงศ์ศิริ ตาลทอง, และคณะ. (2564). ระบาดวิทยาโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2559-2563. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 63(3), 607-617.
Pimolpachr Sriburin, Pichamon Sittikul, Nathamon Kosoltanapiwat, Salin Sirinam, Watcharee Arunsodsai, Chukiat Sirivichayakul, et al. (2021). Incidence of Zika Virus Infection from a Dengue Epidemiological Study of Children in Ratchaburi Province, Thailand. Viruses. 13(9), 1802.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.