การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลวังเจ้า

ผู้แต่ง

  • เมธี สุทธศิลป์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • สุดา ภู่น้อย โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก

คำสำคัญ:

การสนับสนุนทางสังคม, ครอบครัว, ผู้ป่วยจิตเวช

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาระดับการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการ  ณ โรงพยาบาลวังเจ้า  2)  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวช 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล  และสามารถคาดทำนายการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลวังเจ้า โดยใช้กรอบแนวคิดของเฮ้าส์ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ การสนับสนุนทางด้านอารมณ์     การสนับสนุนด้านการประเมิน     การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนด้านสิ่งของและบริการกลุ่มตัวอย่างคือ  สมาชิกในครอบครัวที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจำนวน  54  ราย  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ทดสอบค่าไคสแควร์   ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  และการวิเคราะห์สมการถดถอย

               ผลการศึกษา   พบว่า  1)  การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว   รายด้านการสนับสนุนทางสังคม  ด้านสิ่งของและบริการ  มีค่าเฉลี่ยสูงสุดรองลงมาคือการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ส่วนการสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสารมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในภาพรวม พบว่าเกินครึ่งของผู้ดูแลผู้ป่วยมีการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชอยู่ในระดับสูง  2) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่ารายได้เฉลี่ยของครอบครัวและลักษณะการอยู่อาศัยของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และ 0.01 ตามลำดับ และ  3) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพล   และสามารถทำนายการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวช    พบว่า  สัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช  มีความสัมพันธ์เชิงบวก   และสามารถคาดทำนายการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว  ต่อผู้ป่วยจิตเวชได้ร้อยละ 70.8

              ข้อเสนอแนะเน้นเรื่องการดูแลผู้ป่วยแก่สมาชิกในครอบครัวโดยการให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวจัดฝึกอบรมทักษะการดูแลผู้ป่วยเมื่ออยู่ที่บ้าน   การเยี่ยมบ้านและควรมีการจัดทำคู่มือปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน   เน้นเรื่องการสร้างสัมพันธ์ภาพของสมาชิกในครอบครัว   เช่น   การจัดกิจกรรม หรือแผนการรักษาพยาบาลผู้ป่วย  โดยญาติมีส่วนร่วม พัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์   การเข้าใจผู้ป่วย    ครอบครัวที่เป็นครอบครัวขยาย ควรเน้นการส่งเสริมสัมพันธ์ภาพและบทบาทต่อผู้ป่วยของสมาชิกคนอื่น ๆ เนื่องจากผลการวิจัยสนับสนุนว่าแรงสนับสนุนสูงในครอบครัวเดี่ยว

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับประชากรแหล่งข้อมูล. http://www.dopa.go.th/cgibin/people2_stat.exe?.

จันทร์ชนก โยธินชัชวาล. (2540). ปัจจัยด้านครอบครัวที่มีผลต่อความเจ็บป่วยทางจิตของผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น ในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิตรา เจริญภัทรเภสัช. (2537). การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยเอดส์เต็มขั้นศึกษาเฉพาะกรณีครอบครัวผู้ป่วยเอดส์เต็มขั้นโรงพยาบาลบำราศนราดูร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โชติพร พันธุ์วัฒนาชัย. (2547). การศึกษาการใช้โปรแกรมการสอนสุขภาพจิตแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลพบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พลอยวไล ไกรนรา. (2548). การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของวัยรุ่นชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาชุมชน ภาควิชาจิตวิทยา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภรภัทร อิ่มโอฐ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

มนตรี อมรพิเชษฐ์กุล และ พรชัย พงศ์สงวนสิน. (2564). สถานการณ์การรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชตามการรับรู้ของครอบครัว. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 9(3), 113-127.

ยุวดี โชติวัฒนพงษ์. (2566). ความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคที่เกิดจากการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลโรคทรวงอก นนทบุรี [เอกสารอัดสำเนา]. ตาก: โรงพยาบาลวังเจ้า.

รุจา ภู่ไพบูลย์. (2557). การพยาบาลครอบครัว : แนวคิดทฤษฎีและการนําไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

ละเอียด รอดจันทร์, วัชราภรณ์ อุทโยภาศ และ จันทร์เพ็ญ สุทธิชัยโชติ. (2562). ปัจจัยสัมพันธ์กับการมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

อุรพันธ์ อนุวุฒินาวิน. (2539). การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองศึกษาเฉพาะกรณีผู้ป่วยในสถาบันประสาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

House, J.S. (1981). Work stress and Social Support. Massachusetts: Addison-Wesley Pub. Co.

Hurlock, E. B. (1967). Adolescent Development. New York: McGraw Hill.

Lazarus R.S. (1969). Patterns of Adjustment and Human Effective. New York: McGraw Hill.

Weiss, R. (1974). The provision of social relationships .in R. Zick (Ed.) Rubin and E. Cliffs, in doing into others. New Jersey: Prentice Hall.

การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลวังเจ้า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2023