ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • มูนา กิยะ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • เมธาวี ณ อิ่น มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธนัช กนกเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ดัชนีมวลกาย, นิสิต, วิทยาศาสตร์สุขภาพ, มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

            การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตุประสงค์  เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มหาวิทยาลัยนเรศวร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 1-4 กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน  121  คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าที่ต่ำที่สุด  ค่าที่สูงที่สุด  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  กับ  ดัชนีมวลกาย  โดยการวิเคราะห์สถิติอนุมาน  ใช้สถิติไคสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

            ผลการศึกษา  พบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในคณะสาธารณสุขศาสตร์ ร้อยละ  25.60 เป็นเพศหญิง ร้อยละ  65.30 ดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ  82.60 และมีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับน้ำหนักเกิน  ร้อยละ  17.40  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  เพศ อายุ คณะที่กำลังศึกษา การบริโภคอาหาร การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน การรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน  และการสนับสนุนทางสังคม  จากผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในวางแผน  การจัดสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้นิสิต  มีพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินที่เหมาะสม  เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อไป

References

กัลยาณี โนอินทร์. (2560). ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวันรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก. 18(2), 1-8.

กฤษณีกร พนะการ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในกลุ่มเด็กวัยเรียน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จินดารัตน์ สมใจนึก และ จอม สุวรรณโณ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนในกลุ่มวัยช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยรุ่นตอนปลายสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น:การเปรียบเทียบความชุกในห้ากลุ่มอายุและสามกลุ่มอายุ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 31(1), 142-159.

เจษฎากร โนอินทร์, ศศิธร สาดา, สุจิตรา ป่านฉะนี้ และ สุพัตรา สนั่นเอื้อ (2017). พฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษาที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน. PSRU Journal of Science and Technology. 2(2), 21-31.

นัชชา ยันติ, อภิญญา อุตระชัย และ กริช เรืองไชย. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะน้ำหนักเกินในนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

นิตยา ถนอมรัตน์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกินในบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นพรัตน์ มีจินดา, ชมพูนุท สิริพรหมภัทร และ กิรณา แต้อารักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 3(1), 83-94.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และ สมเกียรติยศ วรเดช. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงในนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 10(2), 55-65.

พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ. (2558). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากรตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยศพนธ์ ประกายอดิเรก. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, สาขาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เรียม นมรักษ์. (2558). ปัจจัยครอบครัวที่มีอิทธิต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุภาวะน้ำหนักเกิน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว คณะพยาบาลศาสตร์) มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2563). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2563 (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วีระเดช พิศประเสริฐ. (2556). การรักษาภาวะอ้วนในปัจจุบัน. ขอนแก่น: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริพร ไพศาลสุทธิชล และ อิสรีย์ ปัญญาวรรณ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 18(1), 68-79.

ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร กับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 47(1), 137-149.

สมปอง จันทะคราม. (2022). ดัชนีประจำปี 2565. Srinagarind Medical Journal-ศรีนครินทร์ เวชสาร. 37(6), 714-738.

สมศักดิ์ ถิ่นขจี และ พูลศักดิ์ พุ่มวิเศษ. (2559). พฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีจังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(1), 72-82.

เอก พลากร หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า และ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

Arslan, N., Aslan Ceylan, J., & Hatipoğlu, A. (2023). The relationship of fast food consumption with sociodemographic factors, body mass index and dietary habits among university students. Nutrition & Food Science. 53(1), 112-123.

Bailey, C. P., Elmi, A. F., Hoban, M. T., Kukich, C., & Napolitano, M. A. (2022). Associations between college/university campus characteristics and student body mass index. Environmental Health and Preventive Medicine. 27, 12.

Dell’Osso, L., Nardi, B., Benedetti, F., Cremone, I. M., Casagrande, D., Massimetti, G., & Carpita, B. (2022). Orthorexia and autism spectrum in University workers: relationship with gender, body mass index and dietary habits. Eating and Weight Disorders-Studies on Anorexia, Bulimia and Obesity. 27(8), 3713-3723.

Eljamay, S. M., Elawkly, A. A., & Younis, F. H. (2022). The Rate of Socioeconomic and Demographic Factors Affecting Body Mass Index (BMI) among Teenagers in Derna City, Libya. African Journal of Advanced Pure and Applied Sciences (AJAPAS). 1(3), 91-97.

Graves, R. J., Williams, S. G., Hauff, C., Fruh, S. M., Sims, B., Hudson, G. M., & Hall, H. R. (2022). Undergraduate versus graduate nursing students: Differences in nutrition, physical activity, and self-reported body mass index. Journal of American College Health. 70(7), 1941-1946.

Hoseini, M., Bardoon, S., Bakhtiari, A., Adib-Rad, H., & Omidvar, S. (2022). Structural model of the relationship between physical activity and students’ quality of life: Mediating role of body mass index and moderating role of gender. Plos one. 17(8), e0273493.

Agossou., J., A. Noudamadjo, J. D. Adédémy, F.Mohamed Agbeille, M.G.Kpanidja, F. Alihonou, R. Houffon, R. Ahodègnon, and B. Ayivi. (2020). Factors Associated with Overweight and Obesity in the Schools of Parakou in 2017. Open Journal of Pediatrics. 10(1), 65-74.

Khanna, D., Peltzer, C., Kahar, P., & Parmar, M. S. (2022). Body mass index (BMI): a screening tool analysis. Cureus. 14(2), e22119.

Larissa Pone Simo, Valirie Ndip Agbor, Francine Zeuga Temgoua, Leo Cedric Fosso Fozeu, Divine Tim Bonghaseh, Aimé Gilbert Noula Mbonda, Raymond Yurika, Winfred Dotse-Gborgbortsi, and Dora Mbanya. (2021). Prevalence and factors associated with overweight and obesity in selected health areas in a rural health district in Cameroon: a cross-sectional analysis. BMC Public Health. 21(1), 475.

Mohamed El Kabbaoui, Alae Chda, Amal Bousfiha, Lotfi Aarab, Rachid Bencheikh, and Abdelali Tazi. (2018). Prevalence of and risk factors for overweight and obesity among adolescents in Morocco. EMHJ. 24(6), 512.

Robert Carreras-Torres, Mattias Johansson, Philip C Haycock, Caroline L Relton, George Davey Smith, Paul Brennan, Richard M Martin. (2018). Role of obesity in smoking behaviour: Mendelian randomization study in UK Biobank. British Medical Journal. 361, k1767.

Teshale Darebo, Addisalem Mesfin, and Samson Gebremedhin. (2019). Prevalence and factors associated with overweight and obesity among adults in Hawassa city, southern Ethiopia: a community based cross-sectional study. BMC Obesity. 6(8).

Thin Zar Thike, Yu Mon Saw, Htin Lin, Khin Chit, Aung Ba Tun, Hein Htet, Su Myat Cho, Aye Thazin Khine, Thu Nandar Saw, Tetsuyoshi Kariya, Eiko Yamamoto, and Nobuyuki Hamajima. (2020). Association between body mass index and ready-to-eat food consumption among sedentary staff in Nay Pyi Taw union territory, Myanmar. BMC Public Health. 20, 1-10.

World Health Organization. (2015). Obesity and overweight. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs311/en/.

World Health Organization. (2021). Obesity and overweight. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight.

Xiaofan Guo, Liqiang Zheng, Yang Li, Xiaoyu Zhang, Shasha Yu, Hongmei Yang, Xingang Zhang, Zhaoqing Sun and Yingxian Sun. (2013). Prevalence and risk factors of Being overweight or obese among children and adolescents in northeast China. The Journal Of Pediatric Research. 74(4), 443-449.

ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2023