ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
โรคความดันโลหิตสูง, ระดับความดันโลหิตบทคัดย่อ
การควบคุมระดับความดันโลหิตช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง การวิจัยแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้รับบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 459 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของแดเนียล เท่ากับ 220 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ การรับรู้ด้านสุขภาพ ระดับความดันโลหิต แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านและนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.874 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการควบคุมระดับความดันโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย การจัดการความเครียด การไม่สูบบุหรี่/ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ การเยี่ยมบ้าน การติดตามประเมินผล การรับรู้โอกาสเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย การไม่สูบบุหรี่/ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ (P-value=0.008) การเยี่ยมบ้าน (P-value=0.002) การติดตามประเมินผล (P-value=0.018) การรับรู้โอกาสเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (P-value=0.034) ตามลำดับ ปัจจัยที่สามารถทำนายการควบคุมระดับความดันโลหิต สามารถทำนายได้ถูกต้อง ร้อยละ 18.4 (R2 =0.184)
References
World Health Organization. (2011). Global status report on non-communicable diseases 2010. Geneva: World Health Organization, 2011.
กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2566). แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปี 2560-2564. http://www.thaincd.com.
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). Health data center. https://www.hdc.moph.go.th, 2566.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือการรักษาตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2554).ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
Daniel W. W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons.
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rded). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.
Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.
Orem, D. E. (1995). Nursing: Concepts of practice (4th ed.). St. Louis: Mosby Year Book.
นฤมล โชว์สูงเนิน. (2560). การเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงานเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 12(1): 9-16.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือการรักษาตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
Rosenstock, I. M. (1974).History origins of the health belief model. In H. B. Marshel, The health belief model and personal behavior. New Jersey: Charles B. Slack.
Becker, M. H. (1974). The Heakth Belief Model and Personal Health Behavior. New Jersey: Charles B. Slack.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.