ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 119 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากนั้นนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และได้ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ อีตา
ผลการวิจัยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเป็นหญิง ร้อยละ 60.5 มีอายุต่ำกว่า 65 ร้อยละ 39.5 รองลงมาคือ ระหว่างอายุ 66-69 ร้อยละ 26.1 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา รองลงมาคือระดับชั้นมัธยมศึกศึกษา ร้อยละ 52.9 , 15.1 ตามลำดับ มีรายได้ครอบครัวต่อปีระหว่าง 10,001-100,000 บาท แหล่งที่มารายได้ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้จากตัวเอง ร้อยละ 56.3 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีความพอเพียงและเหลือเก็บของรายได้ ร้อยละ 47.9 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 58.8 และมีโรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 24.4 กลุ่มตัวอย่างไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเลย ร้อยละ 57.1 และเป็นสมาชิกชมรม ร้อยละ 60.5 จากผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ความพอเพียง (p=0.049) โรคประจำตัว (p=0.000) แรงสนับสนุน บุคลากรสาธารณสุขและบุคคลในครอบครัว (p=0.000) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
กชกร ศิวปรียากูล. (2020). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 3(1): 1-14.
จารุเพ็ญ ภูจอมจิตร. (2022). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ใน เขตพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนา ระบบสุขภาพ. 15(1): 86-100.
ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง. (2022). การดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคปกติถัดไป. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2(1): 74-84.
วิไลวรรณ อิศรเดช (2022). ผู้สูงอายุกับการดูแลสุขภาวะแบบองค์รวม. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 7(12): 147-161.
สุรีรัตน์ รงเรือง และ สมเกียรติ สุขนันตพงศ์. (2553). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 17(1): 109-122.
อภิวรรณ ณัฐมนวรกุล. (2021). ยุทธศาสตร์สังคมสูงวัยของไทย: การจัดตั้งศูนย์สมาคมแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม (ASEAN Centre for Active Ageing and Innovation; ACAI) และนโยบายมุ่งเน้นกระทรวงสาธารณสุขด้านผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2565. Journal of The Department of Medical Services. 46(4): 5-9.
อุทัยวรรณ สุกิมานิล. (2022). แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการบริการสุขภาพและแรงสนับสนุนทาง สังคมในการพยาบาลชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร. 10(4): 1827-1839.
Fernandes, A. P. G., Cardoso, V. R., Dos Santos, K. C., Migliaccio, M. M., & Pinto, J. M. (2022). Factors related to the accumulation of healthy behavior among older adults attending primary Health Care. Journal of Population Ageing. 15(3): 677-690.
Hautekiet, P., Saenen, N. D., Martens, D. S., Debay, M., Van der Heyden, J., Nawrot, T. S., & De Clercq, E. M. (2022). A healthy lifestyle is positively associated with mental health and well-being and core markers in ageing. BMC medicine. 20(1): 1-13.
Nazari, S., Kamali, K., & Hajimiri, K. (2021). Predictive factors of quality of life among the elderly in Iran: Application of Andersen's behavioral model. Journal of Education and Health Promotion. 10.
Nontarak, J., Bundhamcharoen, K., Prasitsiriphon, O., & Aekplakorn, W. (2023). The Association of Sociodemographic Variables and Unhealthy Behaviors With Limitations in Activities of Daily Living Among Thai Older Adults: Cross-sectional Study and Projected Trends Over the Next 20 Years. Asian/Pacific Island Nursing Journal, 7, e42205.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.