ประสิทธิผลของโปรแกรมตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพลัง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • จรัญ ขันศิริ

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้, โปรแกรมตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง, พฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ที่ส่งผลต่อความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การรับรู้ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด พฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดสะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง รูปแบบการวิจัยแบบ nonequivalent two groups pretest – posttest design กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพลัง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ได้จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบแบ่งชั้น จำนวน 64 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีการจับคู่ ได้เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้การทดลองคือ โปรแกรมตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Paired Simple t-test และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติด้วยสถิติ Independent Simple t-test วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลองก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตาม ด้วยสถิติ one-way repeated-measures ANOVA ผลการวิจัยพบว่า

  1. หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
  2. หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ดีกว่าหลังการทดลองและดีกว่าระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ข้อเสนอแนะควรนำโปรแกรมตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดตามบริบทของตนเอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2024