ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายหลังการผ่าตัด ของผู้ป่วยสูตินรีเวช ในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อัสนีพร อริยวัฒนวงศ์

คำสำคัญ:

ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, การผ่าตัดทางสูตินรีเวช, ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด

บทคัดย่อ

บทนำ

          การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และหาความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยสูตินรีเวชที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย กลุ่มตัวอย่าง ป่วยสูตินรีเวชที่รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย จำนวน 75 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไควสแคว์

            ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 38.70 ส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดประเภทเปิดหน้าท้อง ร้อยละ 92.00 มีโรคประจำตัวร้อยละ 52.00 เป็นผู้ป่วยอยู่ใน Class II ร้อยละ 58.70 ระยะเวลาระงับความรู้สึกน้อยกว่า 100 นาที ร้อยละ 50.70 และระยะเวลาในห้องผ่าตัดอยู่ในช่วง 100-200 นาที ร้อยละ 89.34 ภาวะแทรกซ้อนที่พบ ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ร้อยละ 50.70 และภาวะอุณหภูมิกายต่ำหนาวสั่น ร้อยละ 53.30 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการได้รับยาระงับความรู้สึก ได้แก่ ระดับ ASA class ระยะเวลาระงับความรู้สึก และระยะเวลาในห้องผ่าตัด เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยสูตินรีเวชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2024