ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยหอในชาย โรงพยาบาลดอยสะเก็ด
คำสำคัญ:
แผลกดทับ, การเกิดแผลกดทับ, ผู้ป่วยหอในชายบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยที่รับรักษาไว้ในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยในชาย จำนวน 45 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ความถี่ และร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไควสแคว์
ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 82.20 โรคที่ได้รับการวินิจฉัยให้นอนรักษามากที่สุด คือ ปอดอักเสบ ร้อยละ 31.20 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 68.90 สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระได้ ร้อยละ 37.80 ระดับอัลบูมินต่ำว่า 3.5 mg/dl ร้อยละ 84.45 นอนรักษาในโรงพยาบาล
น้อยกว่า 10 วัน ร้อยละ 66.70 ระดับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดนอยู่ในระดับเสี่ยงมาก ร้อยละ 44.40 ระดับของแผลกดทับ ระดับ 2 ร้อยละ 66.70 บริเวณที่เกิดแผลกดทับ สะโพก ร้อยละ 51.10 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การควบคุมการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ระดับอัลบูมิน และระดับความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับของบราเดน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยที่รับรักษาไว้ในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.