ผลการใช้โปรแกรมการดูแลแบบเอื้ออาทรต่อความวิตกกังวลของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กนกพิชญ์ ก้างยาง

คำสำคัญ:

บาดเจ็บที่ศีรษะ, ความวิตกกังวล, การดูแลแบบเอื้ออาทร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในระยะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการดูแลแบบเอื้ออาทร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวหรือญาติผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ที่เข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลดอยหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 35 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบวัดความวิตกกังวลของสปิลเบอร์เกอร์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมการดูแลแบบเอื้ออาทรต่อความวิตกกังวลของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Paired-t-test

         ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับโปรแกรมการดูแลแบบเอื้ออาทรครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะมีความวิตกกังวลต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการดูแลแบบเอื้ออาทร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฯสามารถใช้เป็นแนวทางในการพยาบาลและลดความวิตกกังวลแก่ครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2024