การมีส่วนร่วมของบุคลากรด่านหน้าในการดำเนินงานตามมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยว แบบไม่กักตัว ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าอากาศยานภูเก็ต (Phuket Sandbox)
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, ระบบสุขภาพ, บุคลากรด่านหน้าบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรด่านหน้า ท่าอากาศยานภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรด่านหน้าในการดำเนินงานตามมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบไม่กักตัวในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าอากาศยานภูเก็ต ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 173 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ระบบสุขภาพ แบบ Six Building blocks ส่วนที่ 3 การมีส่วนร่วมของบุคลากรด่านหน้า การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.969 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ระบบสุขภาพ Six building blocks มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรด่านหน้าในการดำเนินงานตามมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบไม่กักตัวใน สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าอากาศยานภูเก็ต (Phuket Sandbox) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.567, P-value<0.001) ตัวแปรทำนายการมีส่วนร่วมของบุคลากรด่านหน้าในการดำเนินงานตามมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบไม่กักตัว ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าอากาศยานภูเก็ต ประกอบด้วย ภาวะผู้นำและอภิบาลระบบ (P-value = 0.001) ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (P-value = 0.001) ยา เวชภัณฑ์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ (P-value = 0.003) ตามลำดับ สามารถทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 39.4 (R2 = 0.394)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.