ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ปรีชา พุกจีน
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุมโรค, ไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี จำนวน 30 ราย โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี พัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย 7 กิจกรรม คือ 1) การเสริมสร้างความรู้และการรับรู้ด้านสุขภาพ 2) การเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพและการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ 3)  การสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองโดยการสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญ 4) การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี 5) การกระตุ้นเตือนในการปฏิบัติและการจัดการตนเองให้มีความปลอดภัย 6) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง 7) การรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก ใช้ระยะเวลาทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัยเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง ใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.010, <0.001 ตามลำดับ)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2024