ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเครียดและอาการปวดทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ จากการเรียนออนไลน์ ของนิสิตระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • จัตริน จากน่าน
  • ขวัญจิรา อังสุจารี
  • กัญญาวีร์ อัครผล
  • เกวรินทร์ ฟักวงคทอง
  • เกศศิริ มณีชูเกตุ

คำสำคัญ:

การรับรู้ความเครียด, การเรียนออนไลน์, อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

บทนำ

          การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์การรับรู้ ความเครียดกับอาการปวดทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการเรียนออนไลน์ ของนิสิตระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร เก็บข้อมูลจากนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึง เมษายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman rank correlation) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05

          ผลการศึกษา พบว่า นิสิตมีความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 12 เดือน ในสัดส่วนที่สูง 3 ลำดับแรกในส่วนของร่างกาย ได้แก่ หลังส่วนล่าง ร้อยละ 68.9 หลังส่วนบน ร้อยละ 64.0 และไหล่ข้างขวา ร้อยละ 62.2 ตามลำดับ นิสิตมีการรับรู้ความเครียดจากการเรียนออนไลน์มากที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.5 และจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเครียดและอาการปวดทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการเรียนออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก พบว่า อาการปวดบริเวณ คอ (𝑟𝑠= 0.392) หลังส่วนล่าง (𝑟𝑠 = 0.331) ข้อมือ/มือข้างขวา (𝑟𝑠 = 0.287 ) หลังส่วนบน (𝑟𝑠 = 0.276) ไหล่ข้างซ้าย (𝑟𝑠 = 0.233) ข้อมือ/มือข้างซ้าย (𝑟𝑠 = 0.206) ข้อเท้า/เท้าข้างซ้าย (𝑟𝑠 = 0.167) สะโพก/ต้นขาข้างขวา (𝑟𝑠 = 0.181) เข่าข้างซ้าย (𝑟𝑠 = 0.167) ข้อเท้า/เท้าข้างขวา (𝑟𝑠 = 0..149) ไหล่ข้างขวา (𝑟𝑠 = 0.142) เข่าข้างขวา (𝑟𝑠 = 0.138) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความเครียดที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น ควรวางแผนจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยมุ่งเน้นการลดอาการปวดทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ และขจัดความเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2024