การศึกษาผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุรีย์มาศ คำพุฒ

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผลการดำเนินงาน, ระบบสุขภาพอำเภอ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอจังหวัดราชบุรี ตามกรอบของ CIPP Model และผลสำเร็จของการพัฒนาตามหลัก UCCARE แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะคือการศึกษาเชิงประเมินผล ด้วยแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จำนวน 201 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การประมวลเนื้อหาและจัดหมวดหมู่ และการศึกษาเชิงคุณภาพโดยวิธีการสนทนากลุ่มถอดบทเรียนปัจจัยแห่งความสำเร็จ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 3 อำเภอ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า การประเมินผลการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอ จังหวัดราชบุรี ตามรูปแบบของ CIPP มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกด้าน (ด้านบริบท: = 3.96; ด้านปัจจัยนำเข้า: = 3.68; ด้านกระบวนการ: = 3.84 และด้านผลผลิต: = 3.92) ผลสำเร็จตามแนวทาง UCCARE ภาพรวมและรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางยกเว้นด้านการทำงานร่วมกันในระดับอำเภออยู่ในระดับสูง (ภาพรวม: = 3.57; การทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ: = 3.72; ผู้มารับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: = 3.57; การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชน: = 3.55; การทำงานจนเกิดคุณค่าทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการเอง: = 3.48; การแบ่งปันทรัพยากรและการพัฒนาบุคลากร: = 3.57; การให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น: = 3.57) ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการมีส่วนร่วม การสนับสนุนทรัพยากร ในการดำเนินงาน

          ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ ควรสร้างกลไกการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ/ตำบล (พชอ./พชต.) แบบมีส่วนร่วมและพัฒนาต่อยอดกระบวนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาสุขภาพ (ODOP) ตามหลัก UCCARE

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2024