ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการรับบริการซ้ำของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พิลัยพร รัตนะ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การรับบริการซ้ำ, ภาวะแทรกซ้อนของปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการรับบริการซ้ำของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับบริการซ้ำของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยที่รับบริการงานผู้ป่วยนอกด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ระดับความรู้ และทัศนคติด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไควสแคว์ และสถิติฟิชเชอร์   

            ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ  63.10 มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ร้อยละ 50.80 จบชั้นระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 38.50 รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 56.90 มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย ร้อยละ 66.20 ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 92.30 ทัศนคติต่อการรับบริการนอนรักษาในโรงพยาบาลอยู่ในระดับดี ร้อยละ 60.00 การรับบริการซ้ำของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ร้อยละ 40.00 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการนอนรักษาซ้ำในโรงพยาบาล ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความสัมพันธ์ต่อการนอนรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2024