การพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรและการปรับภารกิจของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • จุลพันธ์ สุวรรณ

คำสำคัญ:

การจัดการองค์กร, การปรับภารกิจ, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริม, สุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรและการปรับภารกิจของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสถานการณ์ ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบ และระยะที่ 3 เป็นการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานประจำสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 249 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือเชิงปริมาณ 3 ชุด และเครื่องมือเชิงคุณภาพ 2 ชุด ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการจัดการองค์กรและการปรับภารกิจได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา(Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.8017 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรและการปรับภารกิจของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการวางแผน โดยการประเมินสถานการณ์ ร่างและปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารภาครัฐแบบมีส่วนร่วม เลือกทีมวิทยากรประจำโซน และประชุมชี้แจงกลุ่มตัวอย่าง 2)ขั้นตอนการปฏิบัติการ โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การบริหารภาครัฐแบบมีส่วนร่วมโดยกลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จัดโครงสร้างองค์กรแบ่งเป็น 4 กลุ่มงาน ปรับภารกิจหลัก 5 ภารกิจ ภารกิจรอง 1 ภารกิจ และภารกิจสนับสนุน 2 ภารกิจ รวมถึงการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอต้นแบบ และสร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคประชาชน 3 )ขั้นตอนการสังเกตการณ์ โดยสร้างกลุ่มไลน์ในการสื่อสาร ประเมินแบบสร้างเสริมพลังอำนาจ จัดเวทีประชุมติดตาม และ 4) ขั้นตอนการสะท้อนผลการปฏิบัติ โดยประชุมถอดบทเรียนและสกัดชุดความรู้ ส่วนผลการประเมินการมีส่วนร่วมของบุคลากรในกระบวนการพัฒนาพบว่ามีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูง และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์กับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่มีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยนำแนวคิดการการบริหารภาครัฐแบบมีส่วนร่วมและกลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรและการปรับบทบาทภารกิจของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอตามบริบทพื้นที่ให้ทันต่อสถานการณ์และบรรลุเป้าหมายตามนโยบายด้านสุขภาพ

References

เอกสารอ้างอิง

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2554). คู่มือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : วงศ์กมลโปรดักชั่น จำกัด.

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสํานักงาน

ปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560. สืบค้น 13 มิถุนายน 2566 จาก

https://www.skto.moph.go.th/document_file/aumnat.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. (2566).ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สิทธิได้รับเงินค่าป่วยการในการปฏิบัติหน้าที่

ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2566. สืบค้น 2 มิถุนายน 2566 จาก https://www.hfocus.org/sites/default/files/files_upload/siththiidrabenginkhapwykar.pdf.

ไกรสร พิกุลรัตน์.(2566). ความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข อำเภอเมือง

นครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ)

สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เจษฎา นันใจวงษ์. (2564). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจ ให้กับผู้มีประสบการณ์

ชีวิตในวงจรยาเสพติด. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 4 (2),1-22. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ) สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ไชยพัทธ์ ภูริชัยวรนันท์ และคณะ. (2561).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานสาธารณสุขของสาธารณสุข

อำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5 (4),50-62.

ชูศักดิ์ เอกเพชร. (2565).การวิจัยปฏิบัติการ ACTION RESEARCH. สืบค้น 4 มิถุนายน 2566

จาก https://graduate.sru.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/Action-Research-1.pdf.

ดวงใจ เผ่าเวียงคำ. (2564). ผลกระทบของการวางแผนการปฏิบัติงานที่ดีที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของ

ผู้อำนวยการกองคลังสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(1), 88-97.

ดารารัตน์ สำเภาสงฆ์. (2561). การประยุกต์ใช้การประเมินแบบสร้างเสริมพลังอำนาจในการตรวจราชการ

และนิเทศงานสำหรับการป้องกันควบคุมโรคระดับเขต เขตสุขภาพที่ 12. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ถนอมศิลป์ จันคณากิติกุล และคณะ.รูปแบบการจัดการสมัยใหม่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร. วารสารวิทยาลัย

บัณฑิตเอเชีย. 9 (2), 64-68.

ธนกิจ ยงยุทธ์และคณะ. (2564). การพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของเรือนจำ อำเภอชัยบาดาล

จังหวัดลพบุรี. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal),10 (1), 475-497.

ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสน

ศาสตร์). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธีรพงศ์ ประดิษฐ์กุล.(2565).ทฤษฎีองค์การและการจัดการสมัยใหม่. สืบค้น 18 มิถุนายน 2566 จาก

https://www.thaiprint.org/2020/12/vol128/knowledge128-03/.

ยุรนันท์ ตามกาล และคณะ. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามหลักวิถีชีวิตสีเขียว เพื่อ

เสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว. Journal of HRintelligence, 13(1), 20-45.

รมิตา ประวัติ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. (งานนิพนธ์ การศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี : คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์

การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8 (15), 112-126.

วิรงรอง สิงห์ยะยุศย์. (2564) การพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับคณะกรรมการประสานงาน

สาธารณสุข ระดับอำเภอและสหวิชาชีพด้านสุขภาพในการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ,1 (2) ,14-32.

สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557).ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).(การศึกษางานวิชาการค้นคว้าอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ.คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมิธ พิทูรพงศ์. (2560). การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทำงาน กรณีศึกษาบริษัทสหผลิตภัณฑ์

พาณิชย์ จำกัด.(การค้นคว้าอิสระ หลักสูตร นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด

ดิจิตอล). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สามารถ อัยกร. (2558). โปรแกรมไลน์กับการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 9 (1),102-107.

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.(2565). การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด. สืบค้น 18 มิถุนายน 2566 จากhttps://www.hfocus.org/content/2021/12/23865.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.). (2566).การบริหารงานภาครัฐแบบมีส่วนร่วม.

สืบค้น 8 มิถุนายน 2566 จาก https://www.opdc.go.th/content/Mjc4Nw.

อัญชลี มีเพียร. (2563). การพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ

หมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพในการจัดการพฤติกรรมทันตสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี

อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2563. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(33),107-125.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024