พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หลังการระบาด ของประชาชนในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หลังการระบาด ประชากรคือ ประชาชนที่มีรายชื่อตามทะเบียนบ้านเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ.2567 จำนวน 2,177 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 343 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง การจัดการตนเองให้มีความปลอดภัย การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (92.40%) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.286, P-value<0.001)
References
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2564).แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19).สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง.นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.สืบค้น จาก https://ddc.moph.go.th
กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). การขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสื่อสารสุขภาพ. เอกสารเผยแพร่โดย อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://www.anamai.moph.go.th/ppf2017/Download.pdf.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: นิว ธรรมดาการพิมพ์.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2553). โครงการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เรื่อง health literacy เพื่อสร้างเสริมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ด้านสุขภาพสำหรับประชาชน ปีงบประมาณ 2553-2554.
เกวลี ดวงกำเหนิด และคณะ. (2563. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุตำบลสันทราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 4(2): 25-33.
ดาวรุ่ง เยาวกูล. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6. (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ) มหาวิทยาลัยบูรพา.
เบญจมาพร อาดัมเจริญ และวาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 ในยุคชีวิตวิถีใหม่ของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพยาบาล, 71(3), 27-35.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์, 2566. สืบค้นจาก http://uto.moph.go.th/ covid19/dashboard
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.
Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.
Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences.
(9thed). New York: John Wiley & Sons.
Nutbeam D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267. doi: 10.1093/heapro/15.3.259.
Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-8.
Nutbeam D. (2009). Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies? Int. J Public Health, 54, 303-305.
WHO. (1986). Ottawa Charter for Health Promotion. World Health Organization. Geneva.
WHO. (1998). Health Promotion Glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit, World Health Organization. Geneva, 1-10.
WHO. (2009). Health literacy and health promotion. definitions, concepts and examples in the Eastern Mediterranean Region. 7th Global conference on health promotion promoting health and development. Nairobi, Kenya.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.