ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ประชากรคือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีรายชื่อตามทะเบียนบ้านในเขตตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ.2567 จำนวน 128 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 106 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ 2ส. แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจข้อมูล การสื่อสารข้อมูลสุขภาพ การจัดการสุขภาพตนเอง การตัดสินใจเลือกปฏิบัติ และการรู้เท่าทันสื่อ ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง (89.60%) ( =2.90, S.D.=0.31) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในเขตตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.267, P-value=0.006)
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข. (2567). Health Data Center สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php. เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2567.
กองโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2565) . กรมควบคุมโรค แนะประชาชนใส่ใจสุขภาพ. สืบค้นจาก
https://ddc.moph.go.th/brc/news.php. เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2567.
ขวัญเรือน สุขเพ็ญ, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ.(2567) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกใน สตรีอายุ 30–60 ปี เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจาน ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนคร ไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทริ์น; 5(2): 47-58.
จิราภรณ์ อริยสิทธิ์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ
ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. Region 3 Medical and Public Health Journal 2023 สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/13180 เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2567.
จุลลดา เหมโส. (2567). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน; 9(1): 114-152
วันวิสา ยะเกี๋ยงงำ, ณิชารีย์ ใจคำวัง, พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและ
พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงตำบลทุ่งกระเชาะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 15(2). 97-116
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (2567). Health Data Center. เข้าถึงจาก https://utt.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2567
อรอุมา พลซา, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ.(2567) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ
ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
หนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทริ์น; 5(2): 196-207.
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.
Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.
Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences.
(9thed). New York: John Wiley & Sons.
Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for
contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.