ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • นฤมล กอกอง

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรม, ระดับความดันโลหิต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกะท้าว ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 510 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 231 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามโดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.858 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (r=0.869, P-value<0.001) ดังนั้น ผู้วิจัยจะนำตัวแปรจากผลการวิจัยนี้ มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

References

เอกสารอ้างอิง

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือการจัดกิจกรรมเรียนรู้เพื่อ

เสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มวัยเรียนและกลุ่มวัยทำงาน.

นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานการประชุมปฏิบัติการ

เรื่องการพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ

วันที่ 23 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จังหวัดนนทบุรี.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.(อัดสำเนา).

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือแนวทางการดำเนินงาน

สุขศึกษา เพื่อลดอัตราการนอนโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น ในโรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อวันที่

ตุลาคม 2566, จาก https://www.hed.go.th/linkHed/443

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักงานโรคไม่ติตต่อ กรมควบคุมโรค. (18 มกราคม 2566). แผนงานควบคุม

โรคไม่ติดต่อ ปี 2560-2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566, จาก

https://www.thaincd.com/2016/mission3

จิราภรณ์ อริยสิทธิ์์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย

โรคความดันโลหิตสูง. Region 3 Medical and Public Health Journal 2023,20(3),117-23.

ฉัตร์สกุล แมบจันทึก และ ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพและ

ปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอโนนสูง จังหวัด

นครราชสีมา. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2565.

ระบบรายงานมาตรฐาน (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัด

พิษณุโลก ปี 2563-2565.สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566, จาก

https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=

b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9

Best, J.W. (1977). Research is Evaluation. (3 rd ed.). Englewood cliffs : N.J. Prentice Hall. Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and Row.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health

Sciences. (9thed.). New York : John Wiley & Sons.

Nutbeam D. (2000). Define and measuring health literacy: what can we learn from

literacy studies?. International Journal Health, 54(5), 303-305.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024