ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงแสน

ผู้แต่ง

  • พัชรี มณีวงศ์

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, โปรแกรมสมาธิบำบัด SKT, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงแสน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงแสน จำนวน 30 คน โดยการใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โปรแกรมสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงแสน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ระยะเวลาทดลองใช้ 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัยเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง ใช้สถิติ Independent t- test ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตามหลัก 3อ 2ส ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ภายหลังการทดลองผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตามหลัก 3อ 2ส และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) ผลการศึกษาโปรแกรมสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อลดระดับน้ำตาลและเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานได้

References

เอกสารอ้างอิง

ธีรพล มโนศักดิ์เสรี. (2564). ผลของสมาธิบำบัด SKT ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยง เบาหวาน.

วารสารMental Health.

ยุวรัตน์ ม่วงเงิน. (2562). คู่มือการพยาบาลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตในผู้ใหญ่ที่มีภาวะก่อนเกิดโรค

เบาหวาน ชนิดที่2 .พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพ:คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแล

สุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส.ของผู้สูงอายุ

จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต.

โรงพยาบาลเชียงแสน งานเวชระเบียนและสถิติ .(2566). รายงานสถิติประจำปี 2566. งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลเชียงแสน.

วรัญญากรณ์ โนใจและคณะ. (2561). ผลของการปฏิบัติสมาธิบำบัดเพื่อการเยียวยาแบบ SKTต่อระดับน้ำตาใน

เลือดของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน. วารสารพยาบาลทหารบก.

วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี. (2561).โรคเบาหวานชนิดที่2 การป้องกันและการสนับสนุนการจัดการตนเอง. กรุงเทพ:

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร กันทรดุษฎีเตรียมชัยศรี. (2550) . การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยา พิมพ์ครั้งที่ 9. นนทบุรี : สำนักพิมพ์

โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

สำรวย กลยณี และศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม .(2562). ผลของการประยุกต์ใช้หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุนทาง

สังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงราใหม่. วารสาร

ราชพฤกษ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024