ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ความรับรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ประชากรคือ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 232 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 150 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรับรู้ด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมสุขภาพ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.867 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต (P-value=0.008) แรงสนับสนุนจากชุมชน (P-value = 0.020) แรงสนับสนุนทางการแพทย์ (P-value = 0.038) ตามลำดับ
References
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง. อินเทอร์เน็ต สืบค้นจาก https://shorturl.asia/latHG เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2566.
กวิตรา สอนพูด, สัมวี ปิยะปัณฑิตกุล. (2563). การดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสือมของผู้ป่วยโรค เบาหวานความต้นโลหิตสูงแลประชาชนในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารพยาบาลสงขานครินทร์, 40(1), 101-114.
ณิชชากัทร ยอดแคล้ว, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2562). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรดใตเรื้อรั่งในผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(2).24-33.
ดวงรัตน์ หาญพุฒและนวลพรรณ ระโหฐาน. (2566). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 โรงพยาบาลด่านช้าง. วารสารสุขภาพและการพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธาน
นิตยา สิตะเสน, กีรถา ไกรนุวัตรและรักชนก คชไกร. (2563). ความชุกและปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตจากเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์.
นิภาดา วรโพธิ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวาน ในอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. อุทัยธานี : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นุชพร ดุมใหม่. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไตในผู้ที่มีภาวะไดเรื้อรังระยะที่ 1-3 : มหาวิทยาลัยบูรพา
พงษ์ประยูร แก้วหมุน, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และสมเกียรติยศ วรเดช. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.
ภาสวร ธรรมขันธ์, นิภารัตน์ น้อยจันทร์และวรรณิศา เขื่อนวิชัย. (2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตพื้นที่ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ตาว.
รัฐติภรณ์ ลีทองดี, วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์, จีรวัฒน์ บุตรโคตร, ชัญญานุช แคว้นเขาเม็ง. (2565). แรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลภูเวียง อําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล.
เลิศวิทย์ เหลือผล. (2566). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานในตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก. อินเทอร์เน็ต สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2566.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.