ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยระยะถอนพิษสุรา ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงแสน

ผู้แต่ง

  • อิสรีย์ ช่างบุ

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยระยะถอนพิษสุรา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การถอนพิษสุราเป็นปัญหาที่พบบ่อยในโรงพยาบาล การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยระยะถอนพิษสุรา ใน หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงแสน โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาความรู้และทัศนคติของพยาบาลก่อนและหลังการอบรมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยระยะถอนพิษสุรา ประกอบด้วย หลักการรักษาภาวะถอนพิษสุรา “5S” ได้แก่ Sedation Symptomatic Relief Supplement Supportive environment และ Standard care การประเมินผู้ป่วยระยะถอนพิษสุราโดยแบบประเมินอาการถอนพิษสุรา (Alcohol Withdrawal Scale, AWS) การบริหารยา การผูกมัดผู้ป่วยระยะถอนพิษสุรา การให้ความรู้เรื่องโทษจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้ป่วยและญาติ และการดูแลส่งต่อและติดตาม กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเชียงแสน จำนวน 30 คน ส่วนระยะที่ 2 ศึกษาคะแนน AWS ของผู้ป่วยระยะถอนพิษสุราที่ได้รับการดูแลจากพยาบาลในระยะที่ 1 จำนวน 36 รายเปรียบเทียบกับกลุ่มควบควบคุมที่เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน 1 ปีจำนวน 36 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired Sample t-test and T-test for independent sample ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองพยาบาลวิชาชีพมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้และทัศนคติสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-value<0.001 และ P-value<0.01 ตามลำดับ และคะแนน AWS ของผู้ป่วยกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยระยะถอนพิษสุราสามารถลดความรุนแรงของอาการถอนพิษสุรา ดังนั้นควรนำไปใช้ในการควบคุมอาการถอนพิษสุรา

References

เอกสารอ้างอิง

กนกกาญจน์ วิโรจน์อุไรเรือง, อัมพร สีลากุล, วิมาลา เจริญชัย. (2564). การพัฒนาแนวทางการดูแล

รักษาผู้ป่วยแอลกอฮอล์ในระยะถอนฤทธิ์สุราแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์.

วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา. 15(1). 29-48.

คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล.(2020). กลุ่มอาการเนื่องจากการขาด

แอกลอฮอล์และการรักษาในปัจจุบัน (Alcohol withdrawal syndromes). สืบค้นเมื่อ

/3/2563 จาก

https://med.mahidol.ac.th/ramamental/psychiatristknowledge/generalpsychiatrist/080

-0911.

นิภาภัคร์ คงเกียรติพันธุ์. (2563). การพัฒนารูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Alcohol Withdrawal

ตึกผู้ป่วยใน ชาย โรงพยาบาลโกสุมพิสัย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน.

(2). 60-69.

มาริษฎา พิทักษ์ธรรม. (2562). ผลการใช้แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาภาวะถอนพิษสุราในผู้ป่วยใน

โรงพยาบาลนาดูน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 9(2). 207-222.

พัชรินทร์ อดิสรณกุล. (2563). การศึกษารายกรณี ผู้ป่วยโรคติดสุรา หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาล

กาฬสินธ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13 (1). 268-278.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. (2564). แนวปฏิบัติการดูแล

ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดแอลกอฮอล์. บริษัท เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด, นนทบุรี

สุดาดวง พัฒนสาร มะลิวรรณ อังคณิตย์ และอภิญญา วงศ์พิริยโยธา. (2564) . การพัฒนาแนว

ปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(3). 71-80.

สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. (2552). การป้องกันและรักษาภาวะถอนพิษแอลกอฮอล์เชียงใหม่ : แผนงานการ

พัฒนาระบบรูปแบบ และวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ (ผรส.)

แววตา อินชุม นันทาวดี ศิริจันทรา และรุ่งระวี ถนอมทรัพย์. (2564). ปัจจัยสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ

ถอนพิษสุราในผู้ป่วยกระดูกหักที่ดื่มสุราแบบเสี่ยงโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการพยาบาล และ

การดูแลสุขภาพ, 39(1). 78-87

งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลเชียงแสน. (2566). สถิติผู้รับบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลเชียงแสน. ปี

-2566. เชียงราย: โรงพยาบาลเชียงแสน.

อรรถวุฒิ ธรรมชาติ. (2567). ผลการดูแลผู้ป่วยมีภาวะถอนพิษสุราแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพธิ์ศรีสุวรรณ.

วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 18 (1). 61-71.

American Society of Addition Medicine. (2020). The ASAM clinical practice guideline on alcohol withdrawal management. Journal of Addiction Medicine, 14(35), 1–71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024