ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการมาฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์พื้นที่ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ปริญญา ศฤงคาร์นันต์

คำสำคัญ:

การฝากครรภ์ล่าช้า, การรับรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาฝากครรภ์ล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกในสถานบริการของรัฐ เขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ประชากร คือหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานพยาบาลของรัฐ ได้แก่ โรงพยาบาลถลางและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตพื้นที่อำเภอถลาง จำนวน 535 คน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566 โดยใช้สูตรของ Daneil เท่ากับ 201 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล และการรับรู้ด้านสุขภาพ แบบสัมภาษณ์ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านและนำไปทดลองใช้คำนวณค่าความเที่ยง (Reliability) ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค เท่ากับ 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์ล่าช้า ประกอบด้วย คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ (X2=4.931, p-value = 0.025) ระดับการศึกษา (X2 = 5.91, p-value = 0.011) รายได้ (X2 = 11.45, p-value = 0.001) จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ (X2 = 53.7, p-value = 0.00) จำนวนบุตร (X2 = 201 , p-value = 0.00) และการคุมกำเนิด (X2 = 10.728, p-value = 0.001) การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์ล่าช้า ได้แก่ การรับรู้ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ (X2 = 9.084, p-value = 0.011)

References

เอกสารอ้างอิง

กรมอนามัย.(2565). คู่มือการฝากครรภ์สำหรับบุคลากรสาธารณสุข.ครั้งที่ 1. นนทบุรี:สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรม

อนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก

;https://phdb.moph.go.th/main/index เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2566.

ฐิติมา หาญสมบูรณ์.(2565).การประเมินผลการฝากครรภ์ ภาวะสุขภาพมารดาและทารกอำเภอหลังสวน

จังหวัดชุมพร. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน) พ.ศ. 2565 :

-33.

สุวิมล สุรินทรัพย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาฝากครรภ์ล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์พื้นที่โซนตะวันชิงพลบ

อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน.(วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ:หาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์.2559.

ศิริวรรณ แสงอินทร์และช่อทิพย์ ผลกุศล.(2561).การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพและ

ความต้องการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/4052 เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2566.

เรณู ศรีสุข.(2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ของ หญิงตั้งครรภ์ที่มา

ฝากครรภ์ในสถานบริการเขตอำเภอพนัสนิคม. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการ

ผดุงครรภ์ขั้นสูง,คณะพยาบาลศาสตร์), มหาวิทยาลัยบูรพา. 2558.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก

https://pkt.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2566.

อรทัย วงศ์พิกุล,สินีนารถ โรจนานุกูลพงศ์และอำพวรรณ คำรณฤทธิ์.(2558).ฝากครรภ์ดี มีคุณภาพควรฝากครรภ์

ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์.นครราชสีมา:ศูนย์อนามัยที่ 9 กรมอนามัย.เข้าถึงได้จาก http://hpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf59/teen59/ANC.pdf

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rded). Englewood Cliffs: N.J. Prentice-Hall.

Bloom, B.S. (1975). Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York.

Cronbach, Lee J. (1951). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harpe

Daneil W.W.(2010). Biostatistics:Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences.

(9th ed). New York: John Wiley&Sons.

Likert R. inventorNew Patterns of Management. 1961.

World Health Organization [WHO]. (2003). Antenatal care in developing countries promises,

achievements and missed opportunities: An analysis of levels, and differentials. Geneva: World Health Organization

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024