ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ปณภัช ประสานวรกิจการ
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ระดับน้ำตาล, เบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ประชากรคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการรักษาคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 212 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 136 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล แบบสัมภาษณ์ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การเข้าถึงข้อมูลบริการสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การสื่อสารทางสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ การตัดสินใจปฏิบัติที่ถูกต้อง การจัดการตนเอง ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (87.50%) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย (r=0.326, P-value<0.001)

References

เอกสารอ้างอิง

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือ การดูแลสุขภาพตามหลัก 3

อ.2ส. ของแกนนำสุขภาพ. นนทบุรี : โรงพิมพ์กองสุขศึกษา.

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข .(2565).ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพ

บริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ.2563-2566.นนทบุรี:ไม่ปรากฎสถานที่พิมพ์.

จิราภรณ์ อริยสิทธิ์ (2563).ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชนิดที่ 2. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. (โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์), 142-155.

ชินตา เตชะวิจิตรจำรุ และคณะ (2561) ได้ทำการศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทาง

สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ยวิษฐา สุขวาสนะ, อรพินท์ สีขาว, ทวีศักดิ์ กสิผล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้

ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองกับการการควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดของผู้ป่วย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2. ราชาวดีสาร (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์), 11(1), 52-65.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อโพธิ์.(2566). รายงานสรุปผลการดำเนินงานปรงบประมาณ 2566

พิษณุโลก:ไม่ปรากฎสถานที่พิมพ์.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช

กุมารี และสมาคมโรคต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย .แนวทางสำหรับเวชปฏิบัติโรคเบาหวาน ปี

(2566). กรุงเทพฯ : บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.

อดิเทพ ดารดาษ.(2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่

ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก (มหาวิทยาลัยนเรศวร

พิษณุโลก)

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.

Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain.

World Health Organization (WHO). (2009). Health literacy and health promotion. Definitions,

concepts and examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual empowerment conference working document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and development. Nairobi, Kenya; 26-30.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.

Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons.

HLS-EU Consortium. (2012). Comparative report on health literacy in eight EU

member states. The European Health Literacy Survey HLS-EU. [Online]

Available from: www.HEALTH-LITERACY.EU.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain.

World Health Organization (WHO). (2009). Health literacy and health promotion. Definitions,

concepts and examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual empowerment conference working document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and development. Nairobi, Kenya; 26-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024