ผลของโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ไม่ได้บำบัดทดแทนไต ในโรงพยาบาลถลาง

ผู้แต่ง

  • จุฬาลักษณ์ ลิ่มลือชา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแลแบบประคับประคอง, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่ได้บำบัดทดแทนไต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่ได้บำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลถลาง จำนวน 44 ราย โปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง นำหลักการ 4C มาประยุกต์ใช้ในการดูแลแบบประคับประคอง ได้แก่ 1) Center at patient and family 2) Comprehensive 3) Coordinated 4) Continuous มาประยุกต์ใช้ ระยะเวลาทดลอง 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัยเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง ใช้สถิติ Paired simple t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่ได้บำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต มีค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนทดลองโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05) เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตรายด้าน พบว่า บทบาทที่ถูกจำกัดอันเนื่องมาจากปัญหาด้านร่างกาย ด้านความเจ็บปวด  ด้านสุขภาพทั่วไป ด้านสุขภาพจิต ด้านบทบาทที่ถูกจำกัดอันเนื่องมาจากปัญหาด้านอารมณ์ ด้านบทบาททางสังคม ด้านความกระฉับกระเฉง ด้านอาการแสดง/ปัญหา ด้านผลกระทบจากโรคไต ด้านสภาวะการทำงาน ด้านการรับรู้   ด้านปฏิสัมพันธ์ในสังคม ด้านกิจกรรมทางเพศ ด้านการนอนหลับ ด้านความพึงพอใจที่ได้จากเจ้าหน้าที่และด้านความพึงพอใจต่อการรักษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05) ส่วนด้านความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย ด้านความยากลำบากจากโรคไต ด้านการรับรู้และด้านการสนับสนุนจากสังคม ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโดยไม่ได้บำบัดทดแทนไตสามารถทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยการจัดรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่เป็นระบบและสอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของผู้ป่วยให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

References

เอกสารอ้างอิง

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถิติสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2560). คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวม ชนิด

ประคับประคอง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์. (บรรณาธิการ). (2556). คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับ

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการปลูกถ่ายไต.โรงพยาบาลสถาบันโรคไตรภูมิราชนครินทร์

กรุงเทพมหานคร: บริษัท เฮลธ์ เวิร์ค จำกัด.

กุมาลีพร ตรีสอน. (2561). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต. วารสารโรงพยาบาล

มหาสารคาม,15(1), 13-20.

วนิดา วิชัยศักดิ์, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย และยิ่งยศ อวิหิงสานนท์.(2561). การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิต

ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการฟอกเลือด การล้างไตทางช่องท้อง และกลุ่ม

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 62(1), 91–105.

สุณี เวชประสิทธิ์ และพระสุทธิสารเมธี.(2564). เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองด้วยหลัก

พุทธจริยศาสตร์. วารสารปัญญา,28(2), 1-14.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.(2559). แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะใน

ระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. 2557-2559. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

โรงพยาบาลถลาง.(2566).ข้อมูลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย [ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. เข้าถึงวันที่ 28

มกราคม พ.ศ. 2566.

สุรีพร ศิริยะพันธุ์, นิฮูดา ชายเกตุ และเนตรชนก สันตรัตติ. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบ

ประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่ได้บำบัดทดแทนไต โรงพยาบาล

ยะลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 1-15.

สุวารีวรรณ จิระเสวกดิลก.(2563). การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. ใน ปฐมพร ศิรประภาศิร

และ เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง (บรรณาธิการ), คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย

(สำหรับบุคลากรทางการแพทย์) (พิมพ์ครั้งที่ 1). หน้า. 125-133). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

จินตนา อาจสันเที๊ยะและจุฑามาศ ติลภัทร. (2562). ผลการพยาบาลแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตของ

ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 226-235.

ขนิษฐา หอมจีน และพรรณทิพา ศักดิ์ทอง. (2553). การแปลและทดสอบกระบวนการคิดของแบบสอบถาม

คุณภาพชีวิตในโรคไตฉบับย่อภาษาไทย เวอร์ชัน 1.3. วารสารเภสัชกรรมไทย, 2(1), 3-13.

ญาณิศา สุริยะบรรเทิง และภัควีร์ นาคะวิโร.(2563). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาแบบ

ประคับประคอง โดยไม่ได้บำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์

ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(1), 49-60.

รุ่งรัตน์ ยอดระยับและ สุฑารัตน์ ชูรส.(2563). การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการเสริมพลังผู้ป่วยไต

วายเรื้อรังระยะที่ 5 ที่รักษาแบบประคับประคอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง. วารสารแพทยสาร

ทหารอากาศ, 66(2), 1-13.

มารยาท สุจริตวรกุล. (2561). การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. วารสารโรงพยาบาล

ชลบุรี, 43(1), 8-16.

กัลปังหา โชสิวสกุล และแสงทอง ธีระทองคำ.(2563). การดูแลแบบองค์รวมชนิดประคับประคองในผู้ป่วยโรคไต

เรื้อรังระยะท้ายที่รักษาแบบไม่ล้างไต: กรณีศึกษา. วารสารสภาการพยาบาล, 35(4), 5-17.

บุษยมาส ชีวสกุลยง, อารีวรรณ สมหวังประเสริฐ, สุรินทร์ จิรนิรามัย, เบญจลักษณ์ มณีทอน, ธนิน นิตย์ ลีรพันธ์,

ชนัญญา มหาพรหม, และปัทมา โกมุทบุตร. (2556). การดูแลแบบ ประคับประคอง Palliative care. เชียงใหม่: บริษัทกลางเวียงการพิมพ์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024