การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
การเฝ้าระวังและส่งเสริม, พัฒนาการ, เด็กปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั ้งนี ้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research ตามกรอบแนวคิด Kemmis, and
McTaggart (1988) ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกตผล
(Observation) การสะท้อนผล (Reflection) มีวัตถุประสงค์เพื ่ อบริบทและปัจจัยที ่ เกี ่ ยวข้อง ศึกษา
กระบวนการพัฒนารูปแบบ และศึกษาผลของกระบวนการและปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการเฝ้า
ระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัด
กำแพงเพชรแบ่งกลุ ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ ่ม คือ กลุ่มผู ้บริหารท้องถิ ่นและเครือข่ายในพื ้นที ่ที ่เป็นผู ้มีหน้าที่
เกี ่ยวข้อง และตัวแทนภาคประชาชนและผู ้ปกครองหรือผู ้แทนผู ้ปกครอง เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ อัตราส่วน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก
การประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี ่ยความรู ้ เท่ากับ 28.72 ± 3.25 คะแนนเฉลี ่ยเจตคติ 10.50 ± 3.05
คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม 11.94 ± 3.93 และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การดำเนินงานเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ปฐมวัย 9.72 ± 4.60 ระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลปางมะค่า
จังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การวางแผน ศึกษาข้อมูลและแนวทางที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาระบบคัด
กรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ระยะที ่ 2 ขั ้นปฏิบัติ ฝึกอบรมผู ้มีส่วนร่วม ให้สามารถดำเนินการ พัฒนาและจัด
กิจกรรมที ่ส่งเสริมให้เด็กและผู ้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง นำการฝึกอบรมที ่พัฒนา
แล้วไปใช้ในสถานการณ์จริงและเริ ่มดำเนินกิจกรรมการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ระยะที ่ 3 ขั ้นสังเกต
ประเมินความร่วมมือและความพึงพอใจของทั้งกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เข้าร่วมโครงการ ระยะที่ 4 ขั้น
สะท้อนผล สรุปผลการดำเนินกิจกรรม โครงการ และปัญหาที ่พบเจอพบว่าระบบการคัดกรองพัฒนาการเด็กมี
ประสิทธิภาพในการติดตามพัฒนาการตามช่วงอายุ แต่มีปัญหาจากผู ้ปกครองบางรายที่ขาดความตระหนักและไม่
สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรมเฝ้าระวัง ผลของกระบวนการคือมีความถึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนา ร้อยละ 85
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.