ความรู้ในการปฏิบัติตัวและการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชน หมู่5 บ้านเกาะนาคา ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
โรคโควิด-19, ความรู้, การปฏิบัติ, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research ) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด
19 ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชน หมู่5เกาะนาคา
ตำบลป่าคลอก ระยะเวลาดำเนินการระหว่าง เมษายน 2565 – กันยายน 2566 เป็นการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง
คือ ประชาชนที ่มีอายุตั ้งแต่ 18 ปีขึ ้นไปที ่อยู ่ประจำทุกคนบนเกาะ จำนวน 45 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 51.11 กลุ่มอายุ38-47 ปี
และ 48-57 ปี ร้อยละ 24.45 สถานภาพสมรสคู ่ ร้อยละ 75.56 การศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 40
อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 44.45 ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 100 เป็นประเภทประชาชนทั่วไป ร้อยละ 82.23 รายได้
โดยเฉลี ่ย / เดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 60 สมาชิกที ่อาศัยอยู ่ประจำในครัวเรือน จำนวน 4-6 คน
ร้อยละ 62.22 ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทุกคนได้รับจาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และ โทรทัศน์
รองลงมา คือ สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ร้อยละ 46.67และไม่มีการได้รับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ ประวัติการ
ได้รับบริการในการตรวจ ATK ในช่วง1 เดือนที่ผ่านมา ไม่ได้รับการตรวจมากที่สุด ร้อยละ 57.78 ส่วนประวัติ
การได้รับการฉีดวัคซีน ส่วนใหญ่ได้รับ 4 เข็ม ร้อยละ 77.78 ส่วนใหญ่ไม่มีสมาชิกในบ้านเคยป่วยด้วยโรคโค
วิด-19 ร้อยละ 68.89 ความรู้อยู่ในระดับปานกลาง การปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง การมีส่วนร่วมกับชุมชน
อยู ่ในระดับดีมาก จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ประเภทของ
ประชาชนมีความสัมพันธ์ทางบวก เช่นเดียวกับ ระดับความรู ้ในการป้องกันโรคโควิด-19ของประชาชนที ่มี
ความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 และ ระดับการปฏิบัติไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19
ของประชาชน
References
เอกสารอ้างอิง
กัมปนาท โคตรพันธ์และ นิยม จันทร์นวล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการ
ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร.การประชุมวิชาการระดับชาติ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี . Oral Presentation; ครั้งที่ 16: 148-160.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข . (2563) .โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) . (เข้าถึงเมื่อ12
เมษายน 2565). เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 . (เข้าถึงเมื่อ10 เมษายน
. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th>law.
กฤษฎา พรหมมุณี และ ฆายนีย์ ช. บุญพันธ์ . (2565). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน การ
แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19): กรณีศึกษาตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
คณะกรรมการสุขภาพแห่งมณฑลหยุนหนาน มหาวิทยาลัยการแพทย์คุนหมิง . (2563) . คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
.สถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ มณฑลหยุนหนาน : สำนักพิมพ์หยุนหนาน เอ็ดดูเคชั่น .62 หน้า.
คณะแพทยศาสตร์ แพทย์โรคติดเชื้อและระบาดวิทยา. (2563). ความรู้พื้นฐาน COVID-19 ตอนที่ ๑ โรคโควิด-19
การติดเชื้อ การป่วย การดูแลรักษา การป้องกันการแพร่เชื้อและการติดเชื้อ. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล
รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (เข้าถึงเมื่อ19 กุมภาพันธ์ 2564).เข้าถึงได้จาก
https://phoubon.in.th/covid-19/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2.pdf.
คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ฝ่ายกิจการนักศึกษา. (2564). คู่มือการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .
คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช . กรกฎาคม 2564. กรุงเทพมหานคร. 43
หน้า.
ดารียะ ดวงรามี . (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19
หลังประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป็อง . วารสาร
ศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ; 3(2) : 113 – 124 .
ธานี ชัยวัฒน์ และคณะ . (2563). เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมว่าด้วยเส้นทางชีวิตและกิจกรรมร่วมของครัวเรือนไทย
ภายใต้สถานการณ์ COVID-19. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(สวรส.). (เข้าถึงเมื่อ23 เมษายน 2566).เข้าถึงได้จาก
https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5233.
ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์ และ กรรณิกา เจิมเทียนชัย . (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับ
พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ช่วงมีการระบาดปี 2564 และในไตรมาสแรกของ ปี
วชิรสารการพยาบาล ; 25(2): 70-84.
พรทิพย์ มธุรวาทิน. (2565) . ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงใหม่ ใน
เรื่องการใช้หน้ากากอนามัยให้ปลอดภัย จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.งานวิจัย สำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดเชียงใหม่.
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 สำนักนายกรัฐมนตรี , (2565) . สถานการณ์โรคโควิด-19ประเทศไทย . (เข้าถึง
เมื่อ8 กรกฎาคม 2565).เข้าถึงได้จาก https://covid19.nrct.go.th/#.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. (2565). รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดภูเก็ต 2565. เอกสารอัด
สำเนา.
Bloom et al. , 1956. Taxonomy Of Educational Objectives, Handbook : The Cognitive Domain.
New York: David McKay Co Inc.
World Health Organization. [WHO] (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) Situation Report – 71. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.