การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม

ผู้แต่ง

  • อุฬาริน พรกระแส

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
อุฬาริน พรกระแส 1
การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื ่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู ้สูงอายุเพื่อ
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม ดำเนินการเดือนมกราคม 2566- มีนาคม 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60
ปีขึ ้นไป ที่อาศัยอยู ่ในเขตพื ้นที ่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านหนองแก่ง จำนวน 30 คน
ผู ้ดูแล จำนวน 30 คน ภาคีเครือข่ายจำนวน 35 คน และบุคลากรด้านสุขภาพจำนวน 2 คน ขั ้นตอนการพัฒนา
ประกอบด้วย 4 ขั ้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์เกี่ยวการพลัดตกหกล้มในผู ้สูงอายุและการดูแล
เพื่อป้องกันการป้องการพลัดตกหกล้มในชุมชน 2) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
3) การใช้รูปแบบการดูแลผู ้สูงอายุเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม 4) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแล
ผู ้สูงอายุเพื ่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม เครื ่องมือที ่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการดูแลผู ้สูงอายุเพื่อ
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม เครื ่องมือที ่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู ้สูงอายุ ผู ้ดูแลและภาคี
เครือข่าย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม แบบประเมินการกลัว
การหกล้ม แบบสอบถามความรู้และแบบวัดพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ วิเคราะห์
ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Paired t-test และการวิเคราะห์
เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ
1) การมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัวและภาคีเครือข่าย 2) การพัฒนาศักยภาพผู ้สูงอายุ ผู ้ดูแลและอาสาสมัคร
สาธารณสุขประจำหมู ่บ้าน 3) การจัดโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู ้สูงอายุ 4) การสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยใน
การเคลื ่อนไหว และ5) การเยี ่ยมบ้าน การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า หลังการใช้รูปแบบผู ้สูงอายุมี
ค่าเฉลี ่ยคะแนนความเสี ่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและความกลัวการหกล้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P
value<0.05) ผู ้สูงอายุมีค่าเฉลี ่ยคะแนนความรู ้เกี ่ยวกับการป้องกันการพลัดหกล้มและพฤติกรรมเกี ่ยวกับการ
ป้องกันการพลัดหกล้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05) จากการติดตามหลังการใช้รูปแบบในช่วง
6 เดือนไม่พบการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

References

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มมาตรฐาน. (2565). ประชากร. [สืบค้นข้อมูลเมื่อ 14 ธันวาคม 2565], จาก

https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=ac4eed1bddb23d613074

d62d2538fd0.

เพ็ญศรี โภชนกิจ. (2563). ศึกษาผลของโปรแกรมทฤษฎีการเสริมพลังอำนาจเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการ

พลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารพยาบาลสาธารณสุข; 34(2): 115-126.

ลัดดา เถียมวงศ์. (2552). ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา. วารสารสภาการ

พยาบาล; 24(1): 77-87.

วนิดา ราชมี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้ม ของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 6. ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

วิลาวัลย์ เอี่ยมสอาด, กรรณิการ์ พินิจ. (2566). ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้ม

ของผู้สูงอายุโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดระยอง. วารสาร

วิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 9(1): 104-114.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. (2562).แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและ

ประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. สินทวีการพิมพ์.

สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทอง, อรทัย ยินดี. (2564). การศึกษาความเสี่ยง ความกลัวการหกล้มและแนวทางการ

จัดการป้องกัน การพลัดตกหกล้มผู้ที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ.วชิรสารการพยาบาล; 30(23):

-43.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจ ประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กองสถิติ

พยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้ม

ของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 – 2564. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3

มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/violence/ การพยากรณ์

การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ%20ปี%202560-2564.pdf.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. Hillsdale, NJ.:

Lawrence Erlbaum Associate.

Edwards, W., Deming in Mycoted. (2004). Plan Do Check Act (PDCA) (Online). Available

http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.php.

Kempen, et al. (2007). Characterizing urban areas with good sound quality. Noise Economics;

June 24-28 2007; Skiathos; 6(36): 2591.

Perell, K.L., Nelson, A., Goldman, R.L., Luther, S.L., Prieto-Lewis, N. & Rubenstein, L.Z.

(2001).

Fall risk assessment measures: An analytic review. The journals of gerontology. Series A,

Biological Sciences and Medical Sciences; 56(12): 761-766.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

พรกระแส อ. . (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม . วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 5(4), 119–135. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/3762