ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ อย่างมีคุณภาพของประชาชน ตำบลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อม, ผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ, ประชาชนบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื ่อศึกษาปัจจัยที ่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อม
ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพของประชาชน ตำบลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความรู้
ใช้ค่า KR20 0.80 แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ทัศนติและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู ่วัย
สูงอายุใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่น 0.84, 0.82 และ 0.86 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี ่ย ส่วนเบี ่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด
และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ด้วยวิธีการคัดเลือกตัวแบบแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.0 มีอายุเฉลี่ย 55.01±2.49
ปี มีแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 95.1 มีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100.0 มีการเตรียม
ความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 88.9 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมก่อน
เข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ (p <
0.001, β = 0.440) แรงสนับสนุนทางสังคม (p < 0.001, β = 0.402) และทัศนคติต่อการเตรียมความ
พร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ (p=0.024, β = 0.096) โดยสามารถร่วมกันทำนายการเตรียมความพร้อมก่อนเข้า
สู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพของประชาชน ได้ร้อยละ 45.2 การศึกษานี้ควรนำไปใช้ในการจัดโครงการอบรม
การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างต่อเนื่อง
References
เอกสารอ้างอิง
กริช เกียรติญาณ และธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษา
ตำบลวัดไทรย์อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. Journal of Modern Learning
Development, 6(2), 59-74.
ชากร นพนรินทร์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพของ
ประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นฤนาท ยืนยง, พันธุ์ทิพย์ รามสูต และวนัสรา เชาวน์นิยม. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความ
พร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ของประชาชนวัยก่อนสูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสาร
สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 19(1), 108-121.
นเรศักดิ์ แก้วห้วย, สุปรีชา แก้วสวัสดิ์, เรวดี เพชรศิราสัณห์ และจุฑารัตน์ สถิรปัญญา. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพล
ต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากร อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี . วารสาร
ศูนย์อนามัยที่ 9, 16(1), 172-185.
วิไลพร วงค์คีนี, โรจน์ จินตนาวัฒน์ และกนกพร สุคำวัง. (2556). ปัจจัยทำนายพฤฒิพลังของประชากรเขตเมือง
จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ และยศ วัชระคุปต์. (2560). ระบบประกันการดูแลระยะยาว: ระบบที่เหมาะสมกับประเทศ
ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
เพ็ญศรี กองสัมฤทธิ์, วริยา บุญทอง และเสาวลักษณ์ ท้วมเจริญ. (2564). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
ของวัยทำงานตอนปลาย เขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(2), 218-227.
ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. (2565). วาระผู้สูงอายุกับวาระวิจัยระบบสุขภาพ. วารสารวิจัยระบบสุขภาพ, 16(4), 419
สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวง
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคีรีมาศ. (2567). รายงานประจำปี 2566. สุโขทัย.
อัญชิษฐฐา ศิริคําเพ็ง และภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0.
วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(2), 235-243.
Bloom. (1975). Taxonomy of Education. New York: David McKay Company Inc.
Daniel. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley &
Sons.
World Health Organization. (2021). Active Aging:A policy framework. เข้าถึงได้จาก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.