ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่ มีภาวะพึ่งพิงของเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี ้ มีวัตถุประสงค์เพื ่อศึกษาปัจจัยที ่มีผลต่อประสิทธิผลการ
จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย
อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ในเขตเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย จำนวน 208 คน ใช้วิธีการสุ ่มแบบง่าย เครื ่องมือที ่ใช้ในการวิจัยเป็น
แบบสอบถาม วิเคราะห์ความเชื ่อมั ่นของการจัดการระบบการดูแลระยะยาว และประสิทธิผลการจัดการ
ระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู ้สูงอายุที ่มีภาวะพึ่งพิง ใช้ค่าสัมประสิทธิ ์อัลฟาของครอนบาค มีค่าความ
เชื ่อมั ่น 0.78 และ 0.80 ตามลำดับ สถิติที ่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี ่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
สำหรับผู ้สูงอายุที ่มีภาวะพึ ่งพิงคือ การดูแลและช่วยเหลือทางการแพทย์ (p-value =0.009, β = 0.286)
นโยบายภาครัฐ(p-value=0.042, β = 0.236) และการมีส่วนร่วมของชุมชน (p-value =0.045, β =
0.220) โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 17.7 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการส่งเสริม
ประสิทธิผลการจัดการระบบการดูแลระยะยาวของผู ้สูงอายุที ่มีภาวะพึ ่งพิงให้มีประสิทธิภาพและเป็นระบบ
มากยิ่งขึ้น
References
เอกสารอ้างอิง
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2561). รายงานผลการดำเนินงานประจำ ปี 2561 (1 ต.ค. 60 – 30
ก.ย. 61). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชัยยา ปานันท์ และบุญมา สุนทราวิรัตน์. (2564). ระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง : มุมมอง
ผู้ให้บริการ. วารสารวิชาการสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข, 30(ฉบับเพิ่มเติม), 87-101.
นัทธมน หรี่อินทร์. (2564). การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนด้วยกระบวนการ care
management : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(3), 85-93.
ปวีณ์สุดา จันหุณี และฟ้าใส สามารถ. (2562). ประสิทธิผลการจัดการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่ง ของเทศบาลนครนนทบุรี. ประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ครั้งที่
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2559.
กรุงเทพฯ.
Daniel. (1995). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability.
Atlantic City: N.J.
World Health Organization. (2015). WHO recommendations for the prevention and treatment of
postpartum hemorrhage. Italy: WHO Library Cataloguing-in-Publication Data.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.