ผลของการให้ความรู้ร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ต่อระดับความดันโลหิต ในกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิตในเกณฑ์เกือบสูง
คำสำคัญ:
การให้ความรู้ร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์, แอปพลิเคชันไลน์, ความดันโลหิตในเกณฑ์เกือบสูงบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาที่สำคัญของระบบสาธารณสุขไทย การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและการให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจะช่วยลดการเกิดโรคได้ ในปัจจุบันการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ผู้วิจัยจึงพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านแอปพลิเคชันไลน์มาใช้กับกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิตของผู้ที่มีระดับความดันโลหิตในเกณฑ์เกือบสูง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับความรู้แบบปกติกับกลุ่มที่ได้ความรู้ร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ การวิจัยกึ่งทดลอง ในผู้ที่มีความดันโลหิตในเกณฑ์เกือบสูงจำนวน 50 คน จัดสรรตัวอย่างด้วยวิธี Blocked randomization แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลอง 25 คน ได้รับให้ความรู้ร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ และ กลุ่มควบคุม 25 คน ได้รับความรู้แบบปกติ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประเมินผลหลังการทดลองด้วยการวัดระดับความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic blood pressure,SBP) และระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิก (diastolic blood pressure, DBP) การวิเคราะห์ความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างข้อมูลใช้สถิติ Independent T -Test และ Chi-Square test และข้อมูลที่ลักษณะการกระจายตัวผิดปกติจะใช้สถิติ Independent samples Mann-Whitney U test โดยใช้ค่า p-value < 0.05 การวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มเดียวกันใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test โดยใช้ค่า p-value < 0.05 ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่า SBP และค่า DBP ลดลงอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่กลุ่มควบคุมมี ค่า SBP และค่าDBP แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และเมื่อ ระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่าปลุ่มทดลองมีค่า SBP และค่า DBP ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ด้วย การให้ความรู้ร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ สามารถลดระดับความดันโลหิตซิสโตลิก และระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิก ในกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตในเกณฑ์เกือบสูงได้ ดังนั้น ควรมีการศึกษาติดตามระดับความดันโลหิตของกลุ่มตัวอย่างในระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน
References
World Health Organization. (2021). Hypertension [Internet]. Retrieved October 19, 2020, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension
วิชัย เอกพลากร. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 – 2563. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนต์ดีไซน์.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2560). สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2). อังศินันท์ อินทรกำแหง (Ed.), ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา (pp. 45-56). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด.
ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2556). ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดี และข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน. วารสารนักบริหาร, 12(3), 45-60. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
Thai Hypertension Society. (2008). GUIDELINE IN THE TREATMENT OF HYPERTENSION.
Fisher, J. D., & Fisher, W. A. (1992). Changing AIDS-risk behavior. PSYCHOLOGICAL BULLETIN, 111(3), 455-474. https://doi.org/10.1037/0033-2909.111.3.455
Makkaew, A., Moolsart, S., & Boonreungset, M. (n.d.). Effectiveness of a motivational enhancing program via electronic communication for hypertension prevention in high-risk persons. JOURNAL OF PUBLIC HEALTH, 32(3), 215-230.
รุ่งนภา อาระหัง. (2561). The effects of health literacy enhancement program on hypertensive prevention behavior of pre-hypertension. JOURNAL OF HEALTH EDUCATION, 509-526.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.