การเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและความเชื่อด้านสุขภาพในการเข้ารับ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเด่นชัย อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • จิตรารัตน์ เปรมจิตร

คำสำคัญ:

สตรีอายุ 30-60 ปี, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, มะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบพรรณนาเชิงเปรียบเทียบ (comparative descriptive research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและความเชื่อด้านสุขภาพในการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเด่นชัย อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 209 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพและแบบสอบถามการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติและความเชื่อด้านสุขภาพของกลุ่มที่เคยตรวจและไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยใช้สถิติ independent t-test

ผลการวิจัย พบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกระหว่างกลุ่มที่เคยตรวจและกลุ่มที่ไม่เคยมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาระยะยาวและเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างมากขึ้น ควรนำผลการวิจัยนี้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีและเป็นแนวทางการ

References

โกสุม สารทอง. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทย ที่มีอายุ 30-60 ปี ตำบลจอมสวรรค์ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, พะเยา:มหาวิทยาลัยพะเยา

บุญรอง คงมาก. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลพุนพิน อำเภอพุนพิน จังหวัดสราษฎร์ธานี. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี.

บุษบา ไชยวารินทร์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มไทลื้อในตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, พะเยา:มหาวิทยาลัยพะเยา

พรพิมล โสฬณสกุลางกูร. (2560). ปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร. พยาบาลศาสตร์.

ยุพิน เพียรมงคล. (2553). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก. เชียงใหม่. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศริณธร มังคะมณี และคณะ. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีในจังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 4(1), 11-22.

สุขุมาล โพธิ์ทอง. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในพื้นที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(2): 966-970.

Becker, M. H. (1974). The health belief model and personal health behavior. New Jersey: CharlesB. Slack, Inc.

Green J., et al. (2003). Risk factors for adenocarcinoma and squamous cell carcinoma of the cervix in women aged 20-44 years: the UK Nationla case-control study of Cervical Cancer. British Journal of cancer 89, 2078-2086.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-04-2025

How to Cite

เปรมจิตร จ. . . (2025). การเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและความเชื่อด้านสุขภาพในการเข้ารับ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเด่นชัย อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 6(1), 15–27. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4097