ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริมบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยนำ (ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ด้านสุขภาพ) ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 70 ชั่วโมง จำนวน 213 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel จำนวน 150 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ของผู้ดูแล ทัศนคติของผู้ดูแล การรับรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ทักษะของผู้ดูแล ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามโดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความรู้ของผู้ดูแล (r=0.287, P-value=0.004) ทัศนคติของผู้ดูแล (r=0.287, P-value=0.004) การรับรู้ด้านสุขภาพ (r=0.491, P-value=0.006) และปัจจัยเสริม (r=0.173, P-value=0.045) ตามลำดับ ปัจจัยที่สามารถทำนายการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รับ 0.05 ประกอบด้วย การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพ (P-value<0.001) การรับรู้อุปสรรคของการดูแลสุขภาพ (P-value=0.003) อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ (P-value=0.003) ตามลำดับ สามารถทำนายได้ถูกต้อง ร้อยละ 83.1
References
ชมพูนุช พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). วารสารสำนักวิชาการสำนัก เลขาธิการวุฒิสภา; 3(16): 3.
ชนายุส คำโสม, สุนีย์ ละกำปั่น, เพลินพิศ บุณยกาลิก. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย; 12(2): 193-207.
เยาวลักษณ์ ปรปักษ์ขาม และคณะ. (2559). ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2547. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข; 4(2): 98-115.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2548). ระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. (2562). ทะเบียน Care giver จังหวัดนครสวรรค์ ปี 2562. นครสวรรค์: งานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. (2565). สรุปรายงานประจำปี 2565. เอกสารอัดสำเนา. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์.
ทัศนา วงศ์กิตติรัตน์, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลย้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น; 1(2): 12-23.
พงศนาถ หาญเจริญพิพัฒน์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์; 35(3): 653-665.
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.
Bloom, B.S. (1975). Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York.
Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.
Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons.
Green, L. W. and Kreuter, M.W.(1991). Health promotion planning: and environmental approach. Toronto: Mayfied Publishing.
Rosenstock. (1974). History origins of the health belief model: Health Education Monograph.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.