ประสิทธิผลโปรแกรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ พวงดอกไม้

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, ประสิทธิผล, โปรแกรมการควบคุมความดันโลหิต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 30 ราย โปรแกรมการควบคุมความดันโลหิตพัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านทัศนคติ (ทัศนคติต่อการป้องกันโรค ทัศนคติต่อการปรับพฤติกรรม) โดยประยุกต์ทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม การสนับสนุนให้กำลังใจ และการกระตุ้นเตือนโดยใช้แรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 เสริมทักษะความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงให้แกนนำ อสม. กิจกรรมที่ 2 เสริมทักษะการวัดความดันโลหิต กิจกรรมที่ 3 เสริมทักษะการใช้แอฟพริเคชัน สอน.บัดดี้ กิจกรรมที่ 4 เสริมทักษะความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กิจกรรมที่ 5 ติดตามการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กิจกรรมที่ 6 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระยะเวลาการทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความรู้ (P-Value<0.001) ทัศนคติ (P-Value<0.001) พฤติกรรม (P-Value=<0.001ตามลำดับ การควบคุมระดับความดันโลหิตได้ หลังทดลองมีค่าเฉลี่ยลดลงเมื่อเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001)

References

กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. (2023). วัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ “รู้เลข

รู้เสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ”, สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567.

จาก. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=34117&deptcode=brc

จันทร์เพ็ญ พวงดอกไม้ (2567),ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรค

ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

พญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์, สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2567

จาก. https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/3760/2796

ธนพร บึงมุม, สงกรานต์ กลั่นด้วง. (2567). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกัน

โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยง. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ศึกษา. 8(3): 371-379

นวลอนงค์ ศรีสุกไสย.(2567). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการ

สร้างเสริมสุขภาพของกลุ่ม เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัด

ราชบุรี. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจักรีรัช. 4(1)

ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์, จันทนา รณฤทธิวิชัย, วิไลวรรณ ทองเจริญ, วีนัส ลีฬหกุล และพัสมณฑ์ คุ้มทวีพร.

(2552). พยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

ศิริลักษณ์ ช่วงมี.(2566). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับความดันโลหิต

ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ เขตพื้นที่โรงพยาบาลสทิงพระ

อำเภอ สทิงพระ จังหวัดสงขลา สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2568.

จาก. https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1802/1375

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2019). Thai Guidelines on The Treatment of

Hypertension), สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567.

จาก. https://utt.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (2023). การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ, สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน

จาก.https://utt.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

World Health Organization (WHO). (2023). Hypertension, สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567. จาก.

https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension#

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-04-2025

How to Cite

พวงดอกไม้ จ. . (2025). ประสิทธิผลโปรแกรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 6(1), 58–73. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4100