ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • นธรรศ น้อยทัน

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, กลุ่มเสี่ยง, ประสิทธิผล, โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำอ่าง จำนวน 30 ราย โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงนี้ พัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย 1) ด้านการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ 2) ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ  โดยพัฒนามาจากทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพของ Nutbeam (2000) เพื่อเป็นการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การเสริมทักษะความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง กิจกรรมที่ 2 การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. กิจกรรมที่ 3 การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กิจกรรมที่ 4 การฝึกทักษะการสื่อสารสุขภาพ กิจกรรมที่ 5 การฝึกการตัดสินใจด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 6 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระยะเวลาทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (P-Value<0.001) พฤติกรรมสุขภาพ (P-Value<0.001) ตามลำดับ ระดับความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หลังทดลองมีค่าเฉลี่ยลดลงเมื่อเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001, P-Value<0.001) ตามลำดับ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2568). Health Data Center สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php. เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2565) . กรมควบคุมโรค แนะประชาชนใส่ใจสุขภาพ. สืบค้นจาก

https://ddc.moph.go.th/brc/news.php. เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2567.

เฉลิมพล ตันสกุล. (2543). พฤติกรรมศาสตรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย.

ธนพร บึงมุม, สงกรานต์ กลั่นด้วง. (2567). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกัน

โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยง. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 8(3): 371-379

นธรรศ น้อยทัน.(2567). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความ

ดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น.5(3)

นวลอนงค์ ศรีสุกไสย.(2567). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการ

สร้างเสริมสุขภาพของกลุ่ม เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจักรีรัช. 4(1)

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (2568). Health Data Center. เข้าถึงจาก https://utt.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567

Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for

contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-04-2025

How to Cite

น้อยทัน น. . (2025). ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 6(1), 86–99. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4102