ประสิทธิผลโปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังแดง จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
โรคไข้เลือดออก, ประสิทธิผล, โปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 30 ราย โปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านการรับรู้ด้านสุขภาพ (P-value=0.020) ประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก (P-value=0.042) และด้านแรงสนับสนุนทางสังคม (P-value=0.025) ประกอบด้วย แรงสนับสนุนจากชุมชนและครอบครัว (P-value=0.029) ตามลำดับ โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ด้านสุขภาพ (Health perception theory) แรงสนับสนุนทางสังคม (Social support) และการสนับสนุนให้กำลังใจ (Empowerment) ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 การเสริมสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 3 การเสริมสร้างแรงสนับสนุนทางสังคม กิจกรรมที่ 4 การสนับสนุนให้กำลังใจ กิจกรรมที่ 5 บ้านเรือนสะอาด สิ่งแวดล้อมดี และครอบครัวดี มีสุข กิจกรรมที่ 6 การรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก กิจกรรมที่ 7 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระยะเวลาทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและสมุดบันทึกข้อมูลสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย การรับรู้ด้านสุขภาพ (P-Value<0.001) แรงสนับสนุนทางสังคม (P-Value<0.001) และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (P-Value<0.001) ตามลำดับ
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางและคู่มือปฏิบัติงานโรคไข้เลือดออกสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักโรคติดต่อที่นำโดยแมลง.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานสถานการณ์โรคติดต่อที่นำโดยแมลง สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2567 จาก https://dvis3.ddc.moph.go.th/t/ DDC_CENTER_DOE/views/DDS2/sheet33?%3Aembed=y.
เกตุศิริ จันทนูศร (2565). ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันและ
ควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัด พิจิตร.
งานสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข. (2567). รายงานจำนวนหมู่บ้าน ชุมชน อสม.ที่มีสิทธิได้รับค่าป่วยการ สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.thaiphc.net/new2020/content/1.
จินดาพร จันทร์เทศ (2565). ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลของโปรแกรมการ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจ
เพื่อป้องกันโรค ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร.
เฉลิมพล ตันสกุล (2543). พฤติกรรมศาสตรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์.
ดาว เวียงคำ และคณะ (2560). ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกต่อความรู้
ทัศนคติและการปฏิบัติของแกนนำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา.
นิรุจน์ แก้วกรี (2567). ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันและควบคุม
โรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วังแดง จังหวัดอุตรดิตถ์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2561). การสร้างพลังอำนาจในระบบบริการทางการพยาบาล
สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2567. จาก https://www.stou.ac.th/Thai/Grad_Stdy/Downloads/51703/Unit14.doc
ยุคนธ์ เมืองช้าง และคณะ (2566). ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนต่อพฤติกรรม
การป้องกันโรคไข้เลือดออกในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น.
ศิริวรรณ เกาะกัณหา และคณะ (2564). ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก
โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลบ้านนา อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร.
สฤษดิ์เดช เจริญไชย และคณะ (2563). ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการป้องกันและ
ควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการในพื้นที่เสี่ยงสูง เขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2567). Health Data Center
Uttaradit. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2567. จาก https://utt.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.
หมอชาวบ้าน (2552. บทความสุขภาพน่ารู้ Empowerment กับการเสริมพลังสร้างสุขภาพ
สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2567. จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/10287

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.