ประสิทธิผลโปรแกรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หลังการระบาด ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ แก้วคำ

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ประสิทธิผล, โปรแกรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, หลังการระบาด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการระบาด ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีรายชื่อตามทะเบียนบ้านเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 30 ราย โปรแกรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการระบาด พัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย 1) การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ 2) ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ 3) การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ 4) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง 5) การจัดการตนเองให้มีความปลอดภัย 6) การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ โดยประยุกต์ทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การเสริมทักษะความรู้ความเข้าใจ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาความสามารถและทักษะการจัดการตนเอง กิจกรรมที่ 3 การเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลสารสนเทศ กิจกรรมที่ 4 การฝึกทักษะการสื่อสาร กิจกรรมที่ 5 การฝึกการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ ระยะเวลาทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (P-Value=0.002) และพฤติกรรมการป้องกันโรค (P-Value<0.001) ตามลำดับ

References

เอกสารอ้างอิง

ธิดารัตน์ แก้วคำ. (2567). พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

หลังการระบาดของประชาชนในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 5(3). 38-51

นฤนาท ยืนยง และวลัยนารี พรมลา. (2560). โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญจังหวัดปทุมธานี.วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 6(2): 20-29.

เพชรัตน ศิริสุวรรณ และคณะ. (2565). ผลของโปรแกรมการสงเสริมความรูและความรอบรูดานสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบ้าน ในการปองกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลโนนชัยศรี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสุขศึกษา. 45(2): 48-58.

วลัยนารี พรมลาและจีระวรรณ์ อุคคกิมาพันธ์. (2561). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี.วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 4(2): 59-67.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (2564). รายงานสรุปผล สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

อุตรดิตถ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (2566). รายงานสรุปผล สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

อุตรดิตถ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์.

Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain.

Orem, D.E.(2001). Nursing: Concepts of Practice. (6thed.)St. Louis: Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-04-2025

How to Cite

แก้วคำ ธ. . (2025). ประสิทธิผลโปรแกรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หลังการระบาด ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 6(1), 117–130. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4129