ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในการปฏิบัติงานตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน (อสม.1) เพื่อขอรับค่าป่วยการ อสม. อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม.), แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(อสม.1), ค่าป่วยการ อสม., ประสิทธิผล, โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในการปฏิบัติงานตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(อสม.1)เพื่อขอรับค่าป่วยการ อสม.อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 30 คน โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม.พัฒนาขึ้นจากหลักสูตรการอบรมจากหลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ปีพุทธศักราช 2550 ร่วมกับกิจกรรมการปฏิบัติงานตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงานของ อสม.(อสม.1) พ.ศ.2566 (ฉบับที่ 2) (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 2567) โดยประยุกต์ทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แรงจูงใจ และทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การปฏิบัติงานตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(อสม.1) พ.ศ.2566 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2567 กิจกรรมที่ 2 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของ อสม. กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริงในละแวกรับผิดชอบของตนเอง ระยะเวลาทดลอง 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย การปฏิบัติงานตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(อสม.1)(P-Value<0.001) ทักษะในการบันทึกแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน (อสม.1) เพื่อขอรับค่าป่วยการ อสม. (P-Value<0.001) ตามลำดับ
References
เอกสารอ้างอิง
กมลาภรณ์ คงสุขวิวัฒน์, จรรยา รัตนวิภา, นฤดล อ่วมสุข และเพ็ญศรี โตเทศ. (2554).
การวิจัยและพัฒนาศักยภาพกลุ่มองค์กรอาสาสมัครสาธารณสุขสู่การสร้างระบบสุขภาพชุมชน
พื้นที่ภาคเหนือ (พิมพ์ครั้งที่ 1 ). นครสวรรค์: โรงพิมพ์ทิศทางการพิมพ์นครสวรรค์.
เกศินี หงสนันทน์. (2530). การประเมินบุคคล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2550). หลักสูตร
ฝึกอบรม มาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ปีพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ.
กองสนับสนุนสุขภาพภาพประชาชน. (2562). ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน : ข่าว
ประชาสัมพันธ์. สืบค้น 8 กันยายน 2567. จาก http://www.thaiphc.net.
กองสนับสนุนสุขภาพภาพประชาชน. (2567). วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ : ข่าวประชาสัมพันธ์. สืบค้น
กันยายน 2567. จาก http:// www.hfocus.org.
จิรพันธุ์ วิบูลย์วงศ์. (2556). คู่มือ อสม.มืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
จิรเดช แต่สิน. (2554). ความพึงพอใจในผลตอบแทนของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรม
ยานยนต์ เขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2556,
จาก www.research.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/.../จิรเดช-แต่สิน.pdf.
ช่วย เชิญกลาง. (2551). แรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขในเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุข อำเภอด่านขุนทด-เทพารักษ์ จังหวัด
นครราชสีมา. สุขภาพภาคประชาชน ภาคอีสาน, ปีที่ 22 (ฉบับที่ 11), (น.60).
ชาญณรงค์ ชาวงษ์. (2535). การพัฒนาบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ เขตการศึกษา 11,
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดนัย เทียนพุฒ. (2537). กลยุทธ์การพัฒนาคน : สิ่งท้าทายความสำเร็จของธุรกิจ. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 22.
ถวิล เลิกชัยภูมิ. (2567). ประสิทธิผลการดำเนินงานของ อสม.หมอคนที่ 1 ในระบบสุขภาพปฐมภูมิ
เขตสุขภาพที่ 7. วารสารสาธารณสุมูลฐานภาคเหนือ, 34(1), 20-27
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS
(พิมพ์ครั้งที่13). นนทบุรี: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
ธงชัย สาระกูล. (2551). อสม.พลังสุขภาพชุมชน 20 มีนาคม วันอาสาสมัครสาธารณสุข
แห่งชาติ ประจำปี 2551. วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคอีสาน. (น. 10). ขอนแก่น:
โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต
บุญมี พันธุ์ไทย. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประยุทธ แสงสุรินทร์, อัญธิกา ชัชวาลยางกูร, ชยานันต์ ประมวลเจริญกิจ และณัฐวดี ศรีส่ง.
(2554). คู่มือ อสม.ยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ประยุทธ แสงสุรินทร์. (2554). อสม.ทำไมต้องเข้มแข็ง.สุขภาพภาคประชาชน ภาคเหนือ,
ปีที่23 (ฉบับที่ 3), (น. 5).
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สิทธิได้รับเงินค่าป่วยการในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัคร
สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2566. (7 กุมภาพันธ์ 2566). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่
ตอนพิเศษที่ 33 ง, หน้า 13-15
เมธี จันท์จารุภรณ์. (2552). อสม.อาสาของแผ่นดิน (พิมพ์ครั้งที่ 1 ). กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์โบแดง.
มัณฑินา จ่าภา, บังอร ฤทธิ์อุดม และรวิภา บุญชูช่วย. (2554). ความพึงพอใจของประชาชน
และอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนเลือกสรร จังหวัดปทุมธานีต่อการดำเนินโครงการสร้างเสริม
สุขภาพในชุมชนของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554. สืบค้น 14
กันยายน 2567, จาก www.nc.rtaf.mi.th/sitedirectory/.../บทคัดย่อความพึงพอใจชุมชน.pdf.
มหาชาติ โสภณนิธินาท, และยุทธนา แยบคาย (2567). สมรรถนะการบริหารจัดการองค์กร
สร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย.
วารสารสาธารณสุมูลฐานภาคเหนือ, 34(1), 28-37.
รุจยา ชัชวาลยางกูร, ชาติชาย สุวรรณนิตย์, ศุภัคชญา เฉิดฉันท์พิพัฒน์ และชัญญาภัค
บุญยรัตนิน. (2552). แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้าน(อสม) เชิงรุก ปี 2552 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
รุจยา ชัชวาลยางกูร, ชาติชาย สุวรรณนิตย์, ศุภัคชญา ภวังค์คะรัต, ชัญญาภัค
บุญยรัตนิน, พาณพันธุ์ ฉัตรอำไพวงศ์, ดิเรก นาคอ่อน และคนอื่นๆ. (2553). ผลการศึกษา
สถานการณ์การดำเนินงานโครงการส่งเสริม อสม.เชิงรุก ปี 2552(ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
วราภรณ์ แต่งผล. (2554). การศึกษาแนวทางการดำเนินงานพัฒนาบุคลากรในด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
ศิรินภา แพทย์ดี. (2553). การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน ปี 2553 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สมุทรสาคร: บริษัท
บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.
ศุภัคชญา ภวังค์คะรัต. (2555). ความรู้เรื่องกฎหมาย อสม.หนังสือพิมพ์เพื่อน ผสส. อสม.
ปีที่30 (ฉบับที่12). (น.6).
สุจิตรา ธนานันท์. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน
จำกัด ทีพีเอ็น เพรส.
สุภาพร พิศาลบุตร และยงยุทธ เกษสาคร.(2545). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. พิมพ์
ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ พริ้นติ้ง. หน้า 11.
สมาน รังสิโยกฤษฏ์. (2530). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกบัการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ:
สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.
อัญธิกา ชัชวาลยางกูร, ศุภัคชญา ภวังค์คะรัต, มนวดี ประกายรุ้งทองและชุติสุดา เนติกุล.
(2554). ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
พ.ศ. 2554 พร้อมด้วยระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักข่าวพาณิชย์ กรมส่งเสริมการส่งออก.
เอกรินทร์ โปตะเวช, เรืองยศ จันทรสามารถ, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และ
ยุภาพร ยุภาศ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานตามบทบาทหน้าที่
ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. สืบค้น 14
กันยายน 2567, จาก gs.rmu.ac.thrmujbookj2_3_023.pdf
Knowles, M. S. (1980). The modern practiceof adult education: From andragogy to
pedagogy. New York: Follett.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2002). Principles of marketing. NJ : Prentice Hall.
Noe, R. A. (2010). Employee Training and Development. Columbus, OH: McGraw-Hill Irwin.
Nadler และ Wiggs (1989) แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สืบค้น 15 กันยายน 2567. จาก https://www.hrdbridge.com/16925512/

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.