การพัฒนาระบบการให้บริการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดผ่านระบบสื่อสารทางไกลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรัง โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ระบบการสื่อสารทางไกล, ความสามารถในการเคลื่อนไหว, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการรักษาด้วยโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์กับผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดที่คลินิกเวชกรรมฟื้นฟูโดยใช้แบบประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหว (Stroke Rehabilitation Assessment of movement (STREAM) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเรื้อรัง โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี กลุ่มประชากรคือ ผู้ป่วยรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมาแล้ว 6 เดือน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพที่คลินิกเวชกรรมฟื้นฟู โดยการสุ่มแบบง่าย จำนวน 28 ราย เพศหญิง 11 ราย เพศชาย 17 ราย อายุเฉลี่ย 54.93 ± 11.92 ปี (อายุเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(ปี)) แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ 14 ราย และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพที่คลินิกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลบางละมุง 14 ราย ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 24 สัปดาห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์กับผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดที่คลินิกเวชกรรมฟื้นฟู ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์มีผลทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเรื้อรังดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)
References
เอกสารอ้างอิง
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาสำหรับปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์.//(2567).//กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
ระบบประสาท.//สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2567,/จาก/
สถาบันประสาทวิทยา ;/และคนอื่นๆ.//(2559).//แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.//พิมพ์
ครั้งที่ 3.//กรุงเทพฯ:/บริษัท ธนาเพรส จำกัด
สมพร;/และคนอื่นๆ.//(2559).//ความน่าเชื่อถือภายในและระหว่างผู้ประเมิน ในการใช้แบบประเมิน Stroke
Rehabilitation Assessment of Movement (STREAM).//ปริญญานิพนธ์/ (สาขาวิชา).//เมืองที่
พิมพ์:/บัณฑิตวิทยาลัย/ชื่อมหาวิทยาลัย.// อัดส าเนาหรือถ่ายเอกสาร.
สมพร;/และคนอื่นๆ.//(2560,/มกราคม).//ความน่าเชื่อถือภายในและระหว่างผู้ประเมิน ในการใช้แบบประเมิน
Stroke Rehabilitation Assessment of Movement (STREAM).//Journal of Associated Medical
Sciences.//50(1): 71-86.//สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2567,/จาก/file:///C:/Users/HP/Downloads/10.14456jams.2017.7.pdf
Khan, F., Amatya, B., & Colle, D. (2020). Telerehabilitation for chronic stroke: A review of
effectiveness and implementation. Journal of Stroke and Cerebrovascular Diseases, 29(4),
https://doi.org/10.1016/j.jstrokecerebrovasdis.2020.104527
López, M., Sáez, M., & Rodríguez, J. (2019). Comparative effectiveness of telerehabilitation versus
traditional rehabilitation for chronic stroke patients: A meta-analysis. Neurorehabilitation
and Neural Repair, 33(5), 381-391. https://doi.org/10.1177/1545968319841122
Wang, J., Xie, H., & Liu, Y. (2021). Quality of life improvement through telerehabilitation in
chronic stroke patients: A systematic review. International Journal of Stroke, 16(3), 300-
https://doi.org/10.1177/1747493020976896
Schäfer, S., Weber, M., & Braun, B. (2021). Patient satisfaction with telerehabilitation services for
chronic stroke: An observational study. Telemedicine and e-Health, 27(9), 927-933.
https://doi.org/10.1089/tmj.2020.0331
Brouwer, B., van der Wees, P. J., & de Wit, G. (2023). Engagement and adherence in
telerehabilitation programs for chronic stroke: A review of patient experiences. Journal of
Rehabilitation Research and Development, 60(2), 123-137.
https://doi.org/10.1682/JRRD.2022.10.0214
Chen, J., Wang, Y., & Zhang, L. (2022). Cost-effectiveness of telerehabilitation in chronic stroke
management: A systematic review. Health Economics Review, 12(1), 45.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.