ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน, การคัดกรองผู้ป่วย, งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน, ระยะเวลารอคอย, บทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่คัดกรองผู้ป่วย จำนวน 11 คน และผู้ป่วยที่มาใช้บริการงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน จำแนกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินตามแนวคิดของ Gilboy และ Australian Government เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย แบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และสถิติ Wilcoxon signed-rank test
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน
มีค่าเฉลี่ยระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยดีกว่าก่อนการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) ภายหลังการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพดีกว่าก่อนการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.009)
ทั้งนี้ ควรส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช นำรูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดระยะเวลารอคอยและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดลำดับความเร่งด่วนของผู้ป่วย
References
เอกสารอ้างอิง
กรมการพยาบาล. (2563). แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินสำหรับพยาบาลวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนัก
วิชาการพยาบาล.
คณะกรรมการการพยาบาลแห่งประเทศไทย. (2562). มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สภาการพยาบาล.
ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมร และณัฐนันท์ มาลา สุมาลี จักรไพศาล. (2564). ผลของการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินสระบุรีต่อความสอดคล้องของการจำแนกระดับความรุนแรงของผู้ป่วย ระยะเวลาการรอคอยแพทย์ตรวจ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและความพึงพอใจในงานของพยาบาล หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสระบุรี. เข้าถึงได้จาก http://www.emit.go.th/main/business/KnowledgeBase.aspx?cat=23
ชนิดาภา ไกรธนสอน. (2565). การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะรอคอยของผู้ป่วยและบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน. Journal of the Phrae Hospital, 30(1), 69-81.
ทัศนีย์ ภาคภูมิวินิจฉัย และคณะ. (2562). การจัดการระบบบริการแผนกฉุกเฉิน. นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทัศนีย์ ภาคภูมิวินิจฉัย และคณะ. (2562). การดูแลผู้ป่วยในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นันทวัน บัวแก้ว. (2561). การศึกษาการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. . วารสารการพยาบาล, 30(1), 45-60.
รัฐพงษ์ บุรีวงศ์. (2561). แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉินโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน. นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
วราภรณ์ สุขเกษม. (2560). การใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าในการวิจัยทางการพยาบาล. . วารสารวิจัยทางการพยาบาล, 22(2), 112-125.
วัชราภรณ์ โต๊ะทอง. (2565). ผลของระบบการคัดแยกผู้ป่วยต่อประสิทธิภาพการให้บริการในห้องฉุกเฉิน. . วารสารการพยาบาลฉุกเฉิน, 29(3), 45-60.
สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานสถิติการให้บริการห้องฉุกเฉิน
ปี 2561. . นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถิติบริการห้องฉุกเฉินปี 2561. กรุงเทพ: กระทรวงสาธารณสุข.
สุคนธ์จิต อุปนันชัย และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2560). การคัดแยกผู้ป่วยในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน: การศึกษาเชิงทดลอง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 35(1), 112-128.
สุภาภรณ์ ทองดี. (2564). การประเมินระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารการวิจัยระบบบริการสุขภาพ, 15(3), 98-112.
Australian Government. (2019). Emergency triage education kit (ETEK). เข้าถึงได้จาก https://www.health.gov.au/
Australian Government. (2019). The Australian triage process: Ensuring efficiency in emergency services. Australian Department of Health.
Bloom. (1971). Taxonomy of Education. New York: David McKay Company Inc.
Ekins K., & Morphet, J. (2015). The accuracy and consistency of rural, remote and outpost triage nurse decision making in one Western Australia Country Health Service Region. . Australasian Emergency Nursing Journal, 18(4), 227-233.
Fathoni M., Sangchan, H., & Sopajaree, C. (2013). Emergency department overcrowding and its impact on patient care. . Journal of Emergency Medicine, 45(2), 123-130.
Gilboy N., Tanabe, T., Travers, D. A., & Rosenau, A. M. (2011). Emergency severity index (ESI): A triage tool for emergency department care, version 4. Agency for Healthcare Research and Quality.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.