ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • อำนาจ ลีรัก

คำสำคัญ:

การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, การปฐมพยาบาลเบื้องต้น, ภาวะหัวใจหยุดเต้น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ จำนวน 30 คน และกลุ่มที่โปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Independent t- test และสถิติ Paired t-test

         ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

ทั้งนี้ พยาบาลควรนำโปรแกรมฯไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยทำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถทำการช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างถูกต้องและทันเวลา ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

References

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จินดาพร ลันดา. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยอาสาสมัครกู้ภัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. . วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 30(2), 199-206.

ทรงสุดา หมื่นไธสง, เสาวลักษณ์ ชาญกัน, ณรงค์ คำอ่อน, พลอยลดา ศรีหานู, สรัญญา เปล่งกระโทก, กิตติพร เนาว์สุวรรณ และพิชญ์สินี มงคลศิริ. (2566). ผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดเทศบาล ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 13(4), 245.

โรชินี อุปรา, ชยธิดา นนท์เมธาวัฒน์, ทิพย์ ลือชัย, วราภรณ์ บุญยงค์, ปวีณา ยศสุรินทร์ และวีณา ยศสุรินทร์. (2564). ผลของการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(2), 73-86.

โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย. (2567). รายงานผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ. สุโขทัย: โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย.

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย. (2563). การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน Emergency First Aid and Basic CPR. กรุงเทพฯ: บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ จำกัด.

Bloom B. S. (1975). Taxonomy of education. . David McKay Company Inc.

Cohen J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. . Academic Press.

Health Data Center. (2566). รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยง. . นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

Health Data Center. (2567). รายงานสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

Kevin Patel & John E. Hipskind. (2023). Cardiac Arrest. เข้าถึงได้จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK53

Kolb D. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Prentice Hall.

Sudden Cardiac Arrest Foundation. (2020). Latest AHA statistics on cardiac arrest survival reveal little progress. . เข้าถึงได้จาก https://www.sca-aware.org/about-sudden-cardiac-arrest/latest-statistics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2025

How to Cite

ลีรัก อ. . (2025). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 6(1), 196–213. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4178