ผลการให้บริการและความพึงพอใจต่อบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ สำหรับวัยรุ่นและยาวชน เขตสุขภาพที่ 10 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ผู้แต่ง

  • นฤมล เทียมสุวรรณ -
  • ปิยนุช พันธ์ศิริ
  • กฤษฎา บุญสถิตย์

คำสำคัญ:

การบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์, ความพึงพอใจด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ , เขตสุขภาพที่ 10

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้บริการและระดับความพึงพอใจต่อบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่นและเยาวชนของโรงพยาบาลที่ผ่านประเมินมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน เขตสุขภาพที่ 10 ศึกษาในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนช่วง อายุ 10-24 ปี เลือกแบบเจาะจงที่เข้ารับบริการในคลินิกที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนของโรงพยาบาล จำนวน 30 แห่ง ทั้งหมดที่มารับบริการในช่วงที่ศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 402 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่นและเยาวชน (อายุ 10-24 ปี) เกี่ยวกับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์และความพึงพอใจในการรับบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนทั่วประเทศ ของสำนักอนามมัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

             ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้รับบริการเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีกลุ่มอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 2.18 ส่วนใหญ่รู้จักและเข้าถึงบริการ ร้อยละ 85.82 เข้ารับบริการ ได้แก่ การให้คำปรึกษา การคุมกำเนิดกึ่งถาวร และการคุมกำเนิดชั่วคราว ตามลำดับ ได้รับบริการตรงความต้องการ ร้อยละ 100.00 โดยเหตุผลที่ผู้รับบริการเลือกมารับบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ในครั้งนี้ คือ การเดินทางไปใช้บริการได้ง่ายและสะดวก ( =3.96, SD=0.18) ราคาเหมาะสม ไม่แพง หรือใช้บริการได้ตามสิทธิการรักษา ( = 3.91, SD=0.35) วันเวลาทำการ การนัดหมาย และขั้นตอนการรับบริการมีความสะดวก ( = 3.90, SD=0.33)  ภาพรวมความพึงพอใจต่อบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์อยู่ระดับมาก ( =3.28, SD=0.64) โดยมีความพึงพอใจมากที่สุด ด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการตรงกับความต้องการดูแลเอาใจใส่ ( =3.55, SD=0.64) รองลงมา การมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดูแลรักษา ( =3.54, SD=0.57) ไม่เลือกปฏิบัติและรักษาความลับ ( =3.52, SD=0.66) การพัฒนาบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนที่พร้อมให้บริการมีความสะดวกและพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่บริการให้มีความรู้ ความสามารถเฉพาะทาง มีทักษะการปรึกษา เสนอทางเลือกและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยส่งผลต่อการเข้ารับบริการของวัยรุ่น

References

HDC service กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเขตสุขภาพที่10 [อินเตอร์เนต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ของตัวชี้วัดและความรู้ที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์เพี่อขับเคลื่อนตัวชี้วัดอัตราการคลอดมีชีพในหญิง [อินเตอร์เนต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://rh.anamai. moph.go.th

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ฉบับพ.ศ.2563. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2566.

วีรพงษ์ เฉลิมจิรรัตน์. คุณภาพในงานบริการ (Quality in Service). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น. 2539.

John W. Best, Research in Education, 4th ed. New Jersey: Prentice – Hall Inc. 1981.

ธนภรณ์ อินทร์โสม. ภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนวัยรุ่นเขตสุขภาพที่ 6 [อินเตอร์เนต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567]. เข้าถึงจาก https://hpc6.anamai.moph.go.th/web-upload

เมตตา วรสุวรรณรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี [อินเตอร์เนต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 24 พ.ค.2567]. เข้าถึงจาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1085

นภัทชา สมพงษ์. การศึกษาการเข้าถึงบริการและความพึงพอใจต่อการใช้บริการคุมกำเนิดของวัยรุ่นในโรงพยาบาลภาครัฐ [อินเตอร์เนต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567]. เข้าถึงจากhttps://hdcservice. https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal

ศิริลักษณ์ ขณะฤกษ์. รูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลที่ยังไม่เคยขอรับรองมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ฉบับ พ.ศ.2563 เขตสุขภาพที่ 5 [อินเตอร์เนต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 พ.ค.2567]. เข้าถึงจาก https://thaidj.org/index.php/tjha/article/view/12373/1031

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2024