การวิเคราะห์จุดเสี่ยง อุบัติการณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุจราจรโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และทะเบียนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เสกสรร สุวรรณแพง โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ธวัชชัย อิ่มพูล โรงพยาบาลขอนแก่น
  • สุธิดา จันทร์จรัส โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ณัฏธิรา แดงพรวน โรงพยาบาลขอนแก่น
  • สุวิทย์ ศุภวิโรจน์เลิศ โรงพยาบาลสิรินธร ขอนแก่น
  • มัณฑนา มิตรชัย โรงพยาบาลสิรินธร ขอนแก่น

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุจราจร, ปัจจัยเสี่ยง, การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ, การบาดเจ็บรุนแรง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ จุดเสี่ยง อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุจราจรโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และระบบบันทึกทะเบียนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2565 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบอุบัติเหตุ 6,461 ครั้ง ส่วนมากเกิดบริเวณทางแยกที่เป็นจุดตัดจากซอยและจุดตัดถนนมิตรภาพและช่วงถนนสายหลักภายในตำบล ในเมือง มีความเสี่ยงที่จะเป็นผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บระดับรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าผู้ประสบเหตุบาดเจ็บระดับรุนแรงเกี่ยวข้องกับ อายุ เพศ เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ชนิดของยานพาหนะ และพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี มีความเสี่ยง 2.75 เท่า (95%CI = 1.81–4.18) ของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เพศชายมีความเสี่ยง 1.28 เท่า (95%CI = 1.13-1.45) ของเพศหญิง ช่วงเวลา 0.00 – 4.00 น. และ 22.01 – 23.59 น. มีความเสี่ยง 2.13 และ 1.66 เท่า (95%CI = 1.75–2.58, 95%CI = 1.30–2.13) เทียบกับช่วงเวลา 8.01 – 17.00 น. ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มีความเสี่ยง 4.37 เท่า (95%CI = 3.71–5.14) ของผู้ป่วยที่ไม่ดื่มอย่างมีนัยสำคัญ  (p-value < 0.000) ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจร ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมาย การสร้างวินัยในการจราจร การลดพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ จึงเป็นแนวทาง ที่นำไปวางแผนเพื่อลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจรต่อไป

References

World Health Organization. Global status report on road safety 2018 [internet]. 2018. [Cited 27 Dec.2023]. Available from: https://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2018/en/

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. แผนแม่บท ความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565-2570 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://roadsafety.disaster.go.th/roadsafety/download/ 7377?id=21555

ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html

ชนวรรธณ์ ก้อนแก้ว, อนุสรา สวยไธสงค์, สถาพร จินดาอินทร์, สุภาสพงษ์ รู้ทำนอง. การวิเคราะห์ความหนาแน่นของการเกิดอุบัติเหตุจราจรโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/4562021-03-04

Chadbunchachai W, Impool T, Srihabue N, Piyawatchwela T, Saechua O, Daengpruan N. 24 Years anniversary trauma registry 1997-2020 [Internet]. Khon Kaen: Trauma and critical care center: 21 December. [cited 27 Dec 2023]. Available from: https://www.kkh.go.th./ trauma-center/trauma-ebook/

กลุ่มป้องกันการบาดเจ็บ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอุบัติเหตุทางถนน มีอะไรน่ารู้บ้าง [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/leaflet/download1no34.pdf

พรรณี สุรินทชัย. การเกิดอุบัติเหตุจราจรและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา. 2557;15(1):4-14.

จริยา ละมัยเกศ, ชวนพิศ ศิริไพบูลย์, วัชรินทร์ โกมลมาลัย. ปัจจัยสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรทางบก ที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 2561;1(2):66-78.

กฤษณะ สุกาวงค์, นำพร อินสิน, พิชิต ชวนงูเหลือม, พูลทรัพย์ โพนสิงห์ และกัญชรส วังมุข. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตและการทำนายรูปแบบการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2566;19(2):129-41.

วัชรพงษ์ เรือนคำ, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. อุบัติเหตุรถจักรยานยนตในประเทศไทย : มุมมองทางวิทยาการระบาด. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2562;23(1):146-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-05-2024