ฮูปแต้ม : พัฒนาการและนาฏยลักษณ์เทวดานางฟ้าที่ปรากฎบนสิมอีสาน

Hup Taem : The development and dance of angels and angels appearing on the Isaan Sim

ผู้แต่ง

  • ศราวดี ภูชมศรี -

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่อง ฮูปแต้ม : นาฏยลักษณ์เทวดานางฟ้าที่ปรากฎในสิมอีสาน สู่การสร้างสรรค์การแสดงชุด ฉกามาพจร เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ที่ผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการฮูปแต้มที่ปรากฎในสิมอีสาน นาฏลักษณ์ฮูปแต้มในกลุ่มเทวดานางฟ้าที่ปรากฎในสิมอีสาน และเพื่อสร้างสรรค์การแสดงจากนาฏยลักษณ์ฮูปแต้มอีสาน ชุด ฉกามาพจร โดยผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่ในการศึกษาคือ วัดในภาคอีสานตอนกลางที่ปรากฏฮูปแต้มเทวดานางฟ้าบนผนังสิมทั้งภายในและภายนอก ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่ 4 จังหวัด มีทั้งหมด 16 วัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 1 วัด ได้แก่ วัดอุดมประชาราษฎร์ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 4 วัด ได้แก่ วัดมัชฌิมวิทยาราม วัดไชยศรี วัดสนวนวารีพัฒนาราม และวัดสระบัวแก้ว จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 4 วัด ได้แก่ วัดป่าเรไร วัดยางทวงวราราม วัดโพธาราม และวัดตาลเรือง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 7 วัด ได้แก่ วัดกลางมิ่งเมือง วัดพัทธสีมามังคลาราม วัดจักรวาลภูมิพินิจ วัดขอนแก่นเหนือ วัดไตรภูมิคณาจารย์วัดมาลาภิรมณ์ และวัดประตูชัย โดยใช้การลงพื้นที่ภาคสนามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมอีสาน แล้วนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ผ่านแนวคิดองค์ประกอบการเคลื่อนไหวร่างกาย แนวคิดนาฏยลักษณ์ แล้วตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และจากผู้เชี่ยวชาญและการสนทนากลุ่มในวาระของพัฒนาการและนาฏลักษณ์ ซึ่งผลของการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้
     ผลการวิจัยพบว่าฮูปแต้มที่ปรากฏบนสิมอีสานได้มีการวาดทั้งภายในและภายนอกโดยช่างแต้มที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณกรรม พุทธประวัติ ชาดก สอดแทรกเรื่องราววิถีชีวิตในท้องถิ่นลงไปด้วย โดยช่างแต้มจะใช้โครงร่างสีน้ำตาลและสีน้ำเงินมากที่สุด โดยจะเน้นหนักในส่วนของสีเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แต่จะเว้นช่องว่างละครภาพบุคคลให้คงไว้ซึ่งสีขาว ในขณะเดียวกันก็พบการใช้สีเขียวและสีดำในการตัดเส้นเครื่องแต่งกายเพื่อบ่งบอกลักษณะเฉพาะของตัวละครนั้นๆ รวมทั้งข้อจำกัดของพื้นที่ในการวาดและขนาดของสิม โดยเรื่องราวที่นิยมเขียนได้แก่ พุทธประวัติ พระเวสสันดร ทศชาติ พะลักพะลาม และสินไซ จากการวิเคราะห์พัฒนาการของฮูปแต้มอีสานที่ประกอบไปด้วย กลุ่มฮูปแต้มที่เกิดขึ้นก่อน พ.ศ.2410 กลุ่มฮูปแต้มที่เกิดในช่วงปี พ.ศ.2411 ถึง พ.ศ.2470 และกลุ่มฮูปแต้มที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2471 ถึง พ.ศ.2500 จากพัฒนาการดังกล่าวผู้วิจัยได้นำตัวละครในกลุ่มของเทวดา-นางฟ้ามาสังเคราะห์ตามแนวคิดนาฏยลักษณ์พบว่าอากัปกิริยาที่ปรากฎในฮูปแต้มมีทั้งหมด 3 ท่า คือ การนั่ง การเหาะ การยืน โดยใช้
อวัยวะในการแสดงอากัปกิริยาดังกล่าวในส่วนของศีรษะ แขน มือ ลำตัว ขา และเท้า พบว่ามีภาพที่มีความเหมือนและใกล้เคียงกันมากที่สุดจากวัดในพื้นที่ 4 จังหวัดของภาคอีสานตอนกลางจำนวน 14 ภาพตามแนวคิดองค์ประกอบการเคลื่อนไหวร่างกายและทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ในเรื่องของความงามด้านนาฏศิลป์ที่มีความเหมาะสมและตรงตามลักษณะของนาฏยลักษณ์ฮูปแต้มอีสานที่มีความสวยงามอย่างสมบูรณ์แบบ 

References

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ : กรมการฝึกหัดครู.

จารุวรรณ ธรรมวัตร.(2524). ขนบธรรมเนียมของอีสาน . กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์

ชวลิต อธิปัตยกุล (2555) วิจัยเรื่อง ฮูปแต้มอีสาน: มุมมองทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะพื้นถิ่นบนแผ่นดินอีสาน.อุดรธานี:เต้า-โล้

ชมนาด กิจขันธ์. (2547). วิทยานิพนธ์ เรื่อง นาฏยลักษณ์ตัวพระแบบหลวง. ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐ์ฑกฤษณ์ ไชยจินดา (2560) วิทยานิพนธ์ เรื่อง นาฏยลักษณ์ฟ้อนไทพวนในจังหวัดอุดรธานี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2513 ) ประวัติศาสตร์อีสาน 2. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. (2538). สุนทรียะทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ธวัช ปุณโณทก. (2527). แนวทางการศึกษาวรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

นิระดา เหล่าสุนทร. (2548). พระรามชาดก : การปรับเปลี่ยนจากวรรณกรรมลายลักษณ์มาเป็นวรรณกรรมอัตลักษณ์ชาวลาว. กรุงเทพฯ : กระทรวงต่างประเทศ.

นพมาส แววหงส์. (2550). ปริทัศน์ศิลปะการละคร. กรุงเทพฯ : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลระวี จันทร์ลุน. (2548). วิทยานิพนธ์ เรื่อง พัฒนาการและนาฏยลักษณ์ของรำโทน จังหวัดนครราชสีมา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชา

นาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บังอร ปิยะพันธุ์. (2529 ). วิทยานิพนธ์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวลาวในหัวเมืองชั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ :สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2536). แลลอดวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล. (2551). งานวิจัย เรื่อง พัฒนาการของจิตรกรรมฝำผนังอีสาน กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปัทมา วัฒนพานิช. (2551). วิทยานิพนธ์ เรื่อง นาฏยลักษณ์ของละครหลวงในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเทศ ปัจจังคะตา. (2541). งานวิจัย เรื่อง จิตรกรรมฝาผนังสิมวัดป่าเรไรย์ บ้านหนองพอก ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปิยนัส สุดี. (2557). งานวิจัย เรื่อง ฮูปแต้ม : ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในเขตอีสานตอนกลาง. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝำผนังอีสาน. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ.

พรเพ็ญ บุญญาทิพย์. (2551). วิทยานิพนธ์ เรื่อง กระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดโพธารามและวัดป่าเรไรย์จังหวัดมหาสารคาม. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศิลปกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สันทนี อาบัวรัตน์. (2528). วิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาวรรณกรรมอีสานเรื่องมาลัยหมื่นมาลัยแสน. การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2543). เบิ่งสังคมและวัฒนธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน.

สุพจน์ สุวรรณภักดี. (2533). วิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาจิตรกรรมฝาผนังวัดสนวนวารีพัฒนาราม บ้านหัวหนอง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543).นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ : ภาควิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_____________. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ : ภาควิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรกมล วงษ์สถาปนาเลิศ. (2558). ดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง นาฏยลักษณในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-09