ความรู้ ทัศคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคปริทันต์อักเสบในวัยทำงานอายุ 35 - 44 ปี: กรณีศึกษา หมู่ที่ 3 (ดอนโก ) ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนาภรณ์ พันผง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกระทู้
  • ปนัดดา เล็กพงษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโป่งพรานอินทร์
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคปริทันต์อักเสบในวัยทำงาน อายุ 35 - 44 ปี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนวัยทำงาน อายุ 35 - 44 ปี หมู่ที่ 3 (ดอนโก) ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถามของความรู้ ทัศคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคปริทันต์อักเสบและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ประชากรในวัยทำงาน อายุ 35 - 44 ปี หมู่ที่ 3 (ดอนโก) ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอ    บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีความรู้ในเรื่องโรคปริทันต์อักเสบอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 53.2) มีทัศนคติต่อ    โรคปริทันต์อักเสบที่ดี (ร้อยละ 53.2) และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคปริทันต์อักเสบที่ไม่ดี (ดื่มแอลกอฮอล์, สูบบุหรี่, ไม่ใช้ไหมขัดฟัน, ไม่มีการค้นหาข่าวสารและไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก) อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 70.2)

References

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงายผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. (พิมพ์ครั้งที่1). สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. คณะทันแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นเมื่อ 2559 มิถุนายน 4.ปริทันต์. [ออนไลน์]. สืบค้นจากhttp://www.chuladent4king.com.

เบญจพร มีหลีสวัสดิ์ และ ภูมิศักดิ์เลาวกุล. (2558). ความสำคัญและการจัดการร่องด้านเพดานและเหงือก.(ภาควิชาทันตกรรมบูรณะและปริทันต์วิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ภาสกร ศรีไทย. (2554). การศึกษาเบื้องต้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับภาวะปริทันต์ในกลุ่มประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยโรคกังวลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 35 - 80 ปี (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ยศวิมลคู ผาสุก, มัลลิกา ศิริรัตน์, จุฬาลักษณ์ เกษครสุวรรณ, จรรยงค์ ศิริวัชรวรพงษ์, และจาริกา ลีรพงศ์อนันต์. (2553). ประสิทธิผลของยาสีฟันสมุนไพรต่อคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ.วารสาร ปริทันต์วิทยา, (1), 15-23.

รพินท์ อบสุวรรณ. (2551). ศึกษาเชิงพรรณนาการอธิบายโรคปริทันต์ของผู้มารับบริการทันตกรรมที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเชียงราย. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 13(1), 106-116.

รวี เถียรไพศาล. (2552 ). โปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

เวณิการ์ หล่าสระเกษ. (2552). ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการฝึกผู้นำนักเรียนเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

วนิดา นิมมานนท์, จิรภัทร มงคลขจิต, และศิริวรรณ โอ้กระจ่าง. (2549). การศึกษาลักษณะแปรงสีฟันผู้ใหญ่ ในกรุงเทพมหานคร. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล, 26, 7-18.

วนิดา โพธิ์เงิน. (2553). การประยุกต์ใช้แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคปริทันต์สตรีวัยทำงานอายุ 35 - 44 ปี อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาสารคาม).

วรศักดิ์ พูนศิริ. (2552 ). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคปริพันธ์อักเสบในผู้ใหญ่ อายุ 35 - 44 ปี ในเขตอำเภอเฟื่อง จังหวัดเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ธนกฤต มงคลชัยภักดิ์. (2557 ). ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมคลินิก ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ. บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร อัศวบวรชัย. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงใน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สุภาภรณ์ นารี. (2550). โปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

อนิศรา พลยูง. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ โรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น.(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

อนิษฎา เสนพริก. (2556 ). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบของกลุ่มอายุ 35 - 44 ปี ในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

Bloom, B.S. (1979). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay.

Crocombe, L.A., Brennan, D.S., Slade, G.D., Loc, & D.O. (2012). Is self interdental cleaning associated with dental plaque levels, dental calculus, gingivitis and periodontal disease? Journal of Periodontal Research, 47(2), 188-197.

Katagiri, S., et al. (2010). High prevalence of periodontitis in non-elderly obese Japanese adults. Obesity Research & Clinical Practice, 4 (4), e301-e306.

Ojima, M., Hanioka, T., Tanaka, K., Inoshita, E., & Aoyama, H. (2006). Relationship between smoking status and periodontal conditions: findings from national databases in Japan. Journal of Periodontal Research, 41(6), 573-579.

Salekzamani, Y., Shirmohammadi, A., Rahbar, M., Shakouri, S.K., & Nayebi, F. (2011).Association between Human Body Composition and Periodontal Disease. ISRN dentistry, 2011, 863847.

Saxlin, T., Ylöstalo, P., Suominen-Taipale, L., Aromaa, A., & Knuuttila, M. (2010). Overweight and obesity weakly predict the development of periodontal infection. Journal of clinical periodontology, 37(12), 1059-1067.

Ylöstalo, P., Suominen-Taipale, L., Reunanen, A., & Knuuttila, M. (2008). Association between body weight and periodontal infection. Journal of clinical periodontology, 35(4), 297-304.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-08